วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การมองอนาคตของสถานการณ์สาธารณภัย

ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกที่มาจากการเขียนรัฐธรรมนูญแต่งตั้ง สว. ๒๕๐ คนนั่งในรัฐสภา คอยคัดคานผู้แทนราษฎรที่จากฝ่ายตรงกันข้ามกับกลุ่มคนที่แต่งตั้งตนเอง เมื่อผ่านการเลือกตั้ง สว.เหล่านี้ก็ไม่ทำให้คนแต่งตั้งผิดหวัง  โหวตเลือกประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรีตามคำสั่งทันที ตลอดระยะเวลาการบริหารงานเกือบ ๔ ปี (ไม่นับที่ใช้ปืนแต่งตั้งตัวเองเป็นนายกฯ ๔ ปี) เป็นที่ปรีเปรมเกษมสันต์ของฝ่ายที่สนับสนุน ได้เงินได้ทองขนไปลงทุนต่างประเทศหลายล้านล้านบาท บีบบังคับนโยบายค่าเงินแข็ง จนนักลงทุนต่างชาติถอยกรูดกันเป็นแถวๆ

ความเกษมสันต์สมบูรณ์พูนสุขดังกล่าว อาจจะต้องมลายหายไปสิ้น เมื่อเจอกับการแพร่ระบาดของโควิด ๑๙ สายพันธ์อินเดีย ในคราวที่ต่อสู้กับการแพร่ระบาดของสายพันธ์อู๋ฮั่น ด้วยที่ฤทธิ์เดชโควิดไม่รุนแรง และช่วงเวลาการออกฤทธิ์ก็นานเป็น ๒ สัปดาห์ ทำให้การทำงานที่ขาดประสิทธิภาพขาดความสามารถแต่ได้รัยความร่วมมือจากประชาชนคนไทย ทำให้ประยุทธ์ จันทร์โอชาจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์โฆษณาขั้นตอนการทำงานของตนเองไปให้ WHO เผยแพร่ไปทั่วโลก พวกสลิ่มดีดดิ้นกันใหญ่

จากกรณีโควิด ๑๙ สายพันธ์อินเดีย การทำงานด้วยทักษะโลกในยุคศตวรรษที่ ๑๙ ได้ทำให้ประเทศไทยพบกับคำว่า “หายนะ” ด้วยภาพรวมการทำงานที่สรุปได้ว่า “คนที่อยู่ภายใต้บริบทที่เปลี่ยนไป แต่ทำแบบเดิมซ้ำ ๆ แล้วหวังว่าจะได้ผลลัพธ์เหมือนเดิม ก็ไม่ต่างกับ คนที่อยู่ภายใต้บริบทเดิม ทำแบบเดิมซ้ำๆ แล้วหวังว่าจะได้ผลลัพธ์ใหม่”

ซึ่งหาก THINK TANK ที่มีนิสัยประจำของข้าราชการตัวพ่อตัวแม่รู้จักการมองอนาคตของสถานการณ์สาธารณภัยสักวิธีก็คงไม่มีผลการทำงานที่สรุปได้ว่า “ขับเคลื่อนด้วยการด่าของประชาชน” ซึ่งแม้วิธีการวิเคราะห์บริบทของอนาคตจะมีถึง 2 วิธี คือ

1.การสำรวจสภาพแวดล้อมเชิงลึก (Deep Horizon Scanning) รวบรวมข้อมูลสภาพแวดล้อมมาวิเคราะห์คาดคะเนอนาคต ได้แก่

1.1 เทคนิค STEEP (Social, Technological, Environmental,Economic, Political)

1.2 เทคนิค PEST (Political, Economic, Social, Technological)

1.3 เทคนิค PESTEL (Political, Economic, Social, Technological,Environmental, Legal)

1.4 เทคนิค PESTELO (Political, Economic, Social, Technological,Environmental, Legal, Organization

2.การวิเคราะห์ความสลับซับซ้อนของอนาคต (Futures Complexity Analysis)

2.1 ถ้าเพื่อการวิเคราะห์ ใช้เครื่องมือในกลุ่มคาดการณ์หรือทำนายอนาคต (Futures Projection) หรือกลุ่มการเปรียบเทียบหรือปรับแต่งอนาคตจากข้อมูลปัจจุบัน (Futures Calibration) หากมีความสลับซับซ้อนสูง

2.2 ถ้าเพื่อการออกแบบใช้เครื่องมือในกลุ่มการกำหนดทิศทางอนาคต (Futures Formulation)หรือการจินตนาการอนาคต (Futures Ideation) หากหากมีความสลับซับซ้อนสูง

แต่ในกรณีของการแพร่ระบาดของโควิด ๑๘  ใช้เพียงเทคนิคเทคนิค PESTEL (Political, Economic, Social, Technological Environmental, Legal) ไม่ต้องถึงกับวิเคราะห์ความสลับซับซ้อนของอนาคตก็เห็นทางออกแล้ว ไม่จมปลักผลักภาระชั่วลูกชั่วหลานดังที่เป็นอยู่  มิหนำซ้ำก็อ้างว่ากู้เงินมาแก้ไขปัญหาโควิด-19  เป็นยอดเงินสูงถึง 1 ล้านล้านบาท แต่กลับนำมาใช้แก้ปัญหาไม่ถึงร้อยละ 1 ของเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท

————————-

Proudly powered by WordPress