วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

เราต้องทำอะไรบ้างตามความตกลงปารีส (Paris Agreement)

ความตกลงปารีส (Paris Agreement) เป็นความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อกำหนดมาตรการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 ความตกลงดังกล่าวเจรจากันในช่วงการประชุมภาคีสมาชิกของยูเอ็นเอฟซีซีซีครั้งที่ 21 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และได้รับความเห็นชอบในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เพื่อกำหนดกฎกติการะหว่างประเทศที่มีความมุ่งมั่นมากยิ่งขึ้นสำหรับการมีส่วนร่วมของภาคีในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมุ่งเสริมสร้างการตอบสนองต่อภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับโลก ในบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืนและความพยายามในการขจัดความยากจน  โดยรัฐภาคีความร่วมมือจะต้องดำเนินการให้บรรลุผล ภายในปี พ.ศ.2573 ดังนี้

1.การดำเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจก (Mitigation)

• เพิ่มพื้นที่ป่าเป็น ร้อยละ 40

• ส่งเสริมการเกษตรอย่างยั่งยืนและการผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม

2.การปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Adaptation)

• ส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำแบบผสมผสาน

• ป้องกันผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพและฟื้นคืนความยั่งยืนทางนิเวศ

• ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการท่องเที่ยวยั่งยืน

3.การรับมือกับความสูญเสียและความเสียหาย (Loss and damage)

• สร้างศักยภาพในการจัดการผลกระทบต่อสุขภาพ

• ลดความรุนแรงจากภัยพิบัติและความเปราะบางของประชากร

• ติดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่มีประสิทธิภาพ

4.การยกระดับการให้การสนับสนุนด้านการเงิน การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี และการเสริมสร้างศักยภาพ (Means of Implementation: Finance, Technology development and transfer, and capacity-building)

• สร้างความมั่นคงทางอาหารภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

• เสริมสร้างศักยภาพในการใช้แบบจำลองระบบภูมิอากาศ

5.วางกรอบเพื่อรับรองความโปร่งใสของการดำเนินงานและการสนับสนุน (Transparency of action and support)

6.กำหนดให้มีการทบทวนสถานการณ์และการดำเนินงานระดับโลก (Global Stocktake) เป็นระยะ เพื่อประเมินความก้าวหน้าต่อการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายระยะยาวของความตกลงนี้

สถานภาพการปฏิบัติของประเทศไทย ได้นำมากำหนดในยุทธศาสตร์หรือแผนหลักของส่วนราชการต่างๆ แต่แผนงาน/โครงการที่ดำเนินการกลับพลิกผัน เร่งผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจก ผู้ปฏิบัติในโครงการทำๆ ไปให้เสร็จเรียบร้อยให้ผ่านพ้นไปในแต่ละปี ไม่เฉลียวใจว่าโครงการมุ่งหวังที่จะลด แต่ตัวเองกลับสร้างความสับสน สร้างความคลุมเครือจนนำสู่การเร่งผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจก

——————xxxxxxxxxxx—————

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

• ตั้งศูนย์ความรู้ในระดับภูมิภาค

Proudly powered by WordPress