วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การสื่อสารความเสี่ยงไวรัสโควิด-19 กับประเด็นทางกฎหมาย

การสื่อสารความเสี่ยงไวรัสโควิด -19 กับประเด็นทางกฎหมาย เมื่อรัฐบาลรับเงินเดือนรับเงินภาษีประชาชนไปบริหารแต่กลับเห็นความสำคัญของการเป็นลูกจ้างเจ้าสัวมากกว่า ได้นำกฎหมายเข้ามาใช้กับการสื่อสารความเสี่ยงในลักษณะที่ไม่ชอบธรรม โดยตราไว้ใน พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 27)

“ข้อ 11 มาตรการเพื่อมิให้มีการบิดเบือนข้อมูลข่าวสารอันทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉิน การเสนอข่าวหรือการทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั่วราชอาณาจักรนั้น เป็นความผิดตามมาตรา 9 (3) แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548” การฝ่าฝืนข้อ 11 มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท ซึ่งเป็นโทษที่กำหนดไว้ในมาตรา 18  เริ่มมีผลบังคับใช้ 12 กรกฎาคม 2564 เป็รต้นไป https://www.thairath.co.th/news/politic/2138572

ตีความว่ารัฐบาลต้องการเอาผิดกับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารได้หลากหลายมากขึ้น  ซึ่งอาจคาดเดาว่ามีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้

1.อยากเอาใจสลิ่มให้สบายใจบ้าง เพราะขณะนี้ได้รับรู้แต่ความล้มเหลวของรัฐบาล จะได้ยังคงให้การสนับสนุนต่อไป เรียกว่ายุทธศาสตร์หล่อเลี้ยงความผิดหวังของสลิ่ม ปกป้องหัวใจอันบอบซ้ำของสลิ่ม

2.จะยังคงรูปแบบการบริหารจัดการเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 ต่อไป ไม่ว่าจะเป็น

2.1 ยังคงต้องจ่ายเงินภาษีซื้อวัคซีนซิโนแวคต่อไป

2.2 จะยังคงไม่มุ่งเน้นการตรวจหาคนติดเชื้อ แล้วนำคนติดเชื้อออกมารักษาพยาพยาบาล ป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อไปยังคนที่อยู่รอบๆ ตัว   คนที่ติดก็คงไม่อยากแพร่เชื้อให้คนอื่นต่อไป  แต่ทำไงได้ก็ไม่รู้ว่าตนเองติดเชื้อ  ครั้นจะไปตรวจโรงพยาบาลก็รับแบบกระปิดกระปรอยตามปริมาณเตียงและเครื่องมือที่มีที่จะรับตัวไว้รักษาพยาบาล

ตามหลักการบริหารจัดการสาธารณภัย  ประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งก็คือ จะต้องมีการสื่อสารเกี่ยวกับความเสี่ยงอย่างรอบด้านให้มากที่สุด ทั้งสื่อสารออกไป และรับข้อมูลความเสี่ยงจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นจำนวนมาก เกือบจะทุกคนในประเทศ

สรุปได้ว่า รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายการสื่อสารไวรัสโควิด 19 โดยตราประเด็นทางกฎหมายที่ลดทอนศักยภาพในการป้องกันการแพร่ระบาด  และไม่ได้ดำเนินงานภายใต้กฏเกณฑืสากล คือ กฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations : IHR) โดยกฎดังกล่าวจะต้องมีการบริหารจัดการอย่างโปร่งใส และจัดให้มีการสื่อสารความเสี่ยง

xxxxxxxxxxxxxxxx

Proudly powered by WordPress