วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การเอาฉากทัศน์ที่ไม่ดีมาเสนอของบประมาณ

เป๋ไปเป๋มากับการจัดการภัยภิบัติ ดั่งความเห็นของผู้เชี่ยวชาญการจัดการภัยพิบัติที่กล่าวว่า “เราคุ้นชินกับการตั้งฉากทัศน์แบบที่อยากได้ในอนาคต และพยายามผลักตัวเองให้ไปถึง คำถามคือ จากวันนี้ถึงวันนั้น จะไม่มีฉากทัศน์ที่ไม่ดีเกิดขึ้นเลยหรือ มันจึงไม่มีการทำงานในเชิงที่เรียกว่า วิเคราะห์ความเสี่ยงล่วงหน้าในะระยะยาว เพื่อสร้างมาตรการป้องกัน และลดความเสี่ยงเพื่อที่วันนั้ เราจะจัดการกับปัญหาได้โดยง่าย” https://themomentum.co/interview-tavida-kamolvej/?fbclid

งบประมาณส่วนใหญ่ของประเทศส่วนใหญ่ใช้ฉากทัศน์ที่ไม่ดีเพื่อมาเขียนโครงการของบประมาณ มีการบอกกล่าวว่าที่อยากได้ในอนาคตที่คุณจะกระเสือกกระสนทำไปนั้นพัฒนาไปจากปัญหาที่เป็นอยู่มากน้อยเพียงใด โดยมีสำนักงบประมาณเป็นผู้มีอำนาจอิทธิพล

กระทรวงคมนาคมก็เอาความชำรุดบกพร่อง ระยะเวลาใช้งานที่ลดน้อยถอยลง ปริมาณการจราจรที่หนาแน่น เพื่อเอามาสร้างงานของบประมาณ กองทัพก็เอาเหตุที่อาวุธน้อย ไม่ทันสมัย ถ้ารบกันขึ้นมาก็จะแพ้ กระทรวงเกษตรฯ ก็เกษตรกรขาดแคลนนำ้ทำการเกษตร ขาดพันธ์ุพืช

เป็นฉากทัศน์ที่อยากได้บนพื้นฐานการแก้ไขปัญหา มีบางคนพูดว่าลำพังทำงานแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในลักษณะรูทีนก็จะแย่อยู่แล้ว งบประมาณที่ให้ก็ไม่เพียงพอต่อารทำงานอยู่แล้ว  ซึ่งกระทรวงส่วนใหญ่ก็เอาความเสี่ยง เอาหายนะที่อาจจะเกิดขึ้นมาใช้เพื่อทำงานตามอำนาจหน้าที่ เพียงแต่รัฐบาลที่กำกับทิศทางยังไม่เห็นความสำคัญกับฉากทัศน์ในระยะยาวเท่านั้น (อย่าว่าแต่ความเสี่ยงด้านภัยพิบัติเลย ความเสี่ยงด้านอื่นๆ ทั้งหลายของประเทศหน่วยงานที่ทำมาเป็นร้อยๆ ปี ยังสายตาสั้น)

ไอ้ที่ผมไม่ชอบที่สุด คือ ฉากทัศน์ที่ไม่ดีที่หน่วยงานภาครัฐนำมาของบประมาณ คือฉากทัศน์ที่มองว่าประชาชนชนโง่ไม่มีความรู้  ต้องมาอบรมพัฒนาแต่ ร้อยละ 80-90 กลับมาบอกความหมายบอกลักษณะสิ่งต่างๆ เชิงวิชาการ  ไม่สำนึกว่าตัวเองนั้นโง่แค่ไหน

———————–///////////////////————————

Proudly powered by WordPress