วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

อุบัติเหตุทางถนนในมหาสารคาม

ปี ๒๕๕๖เป็นปีที่ ๒ แล้วที่ประเทศไทยได้เริ่มดำเนินงานทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน(๒๕๕๔-๒๕๖๓) ที่ประกอบด้วย ๕ ยุทธศาสตร์ คือ

๑.การจัดการ

๒.ถนนปลอดภัย

๓.ยานพาหนะปลอดภัย

๔.ผู้ใช้รถใช้ถนนปลอดภัย

๕.การจัดการหลังเกิดเหตุ

 

ซึ่งเมื่อดูแผนงานที่ดำเนินการให้ยุทธศาสตร์ให้บรรลุผลแล้ว  คาดการณ์ได้เลยเมื่อสิ้นปี ๒๕๖๓ เราจะล้มเหลว ถ้ากิจกรรมตามแผนงานไม่มีเป้าประสงค์ ตัวชี้วัดที่ชัดเจน

แผนงานหลักที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย ๔ แผนงานหลัก คือ

๑.การพัฒนาระบบข้อมูล การติดตามประเมินผล

๒.การพัฒนากฏหมายและการบังคับใช้กฏหมาย

๓.การพัฒนาระบบและวัฒนธรรมความปลอดภัย

๔.ระบบสนับสนุนการทำงานตามเป้าหมาย

 

เมื่อสิ้นทศวรรษเราก็จะติดอยู่แค่ แผนงานที่ ๑ และแผนงานหลักที่ ๔  ตวเลขผู้เสียชีวิตในทศวรรษความปลอดภัยทางถนนลดลงแค่ ๓ เปอร์เซ็นต์

ติดอยู่กับตัวเลขข้อมูลที่เกิดจากแอลกอฮอล์  อัตราการสวมหมวกนิรภัย การคาดเข็มขัดนิรภัย ข้อมูลความเร็วเฉลี่ยบนถนน  บนพื้นฐานสังคมไทยที่ยึดรูปแบบแต่ไร้เนื้อหาสาระ  ตัวชี้วัดหนึ่งที่เราจะไม่ไปถึงไหน คือข้อมูลการสอบสวนอุบัติเหตุเชิงลึก ๒ ปีที่ผ่านมายังไม่ไปถึงไหนกันเลย

 

การบังคับใช้กฏหมาย  เมื่อสิ้นทศวรรษความปลอดภัยทางถนน เราก็จะติดอยู่แค่การตั้งด่านตรวจบังคับใช้กฏหมาย ยังก้าวไปไม่ถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้บังคับใช้กฏหมาย ถึงมีก็จะเป็นดัมมี่แค่นั้น กฏหมายด้านความปลอดภัยยานพาหนะ ความแข็งแรงปลอดภัยของรถ ของที่นั่งภายในรถโดยสาร ระบบสัมปทานที่ให้ความสำคัญกับระบบความปลอดภัย พื้นที่ความศักดิ์สิทธิ์หรือการบังคับใช้กฏหมายก็จะมีเพียงถนนสายหลัก ในเทศบาลเมือง/ตำบล   เมื่อสิ้นทศวรรษการขาดการบังคับใช้กฏหมาย

 

การพัฒนาระบบและวัฒนธรรมความปลอดภัย  การปรับปรุงความปลอดภัยทางถนน จุดเสี่ยง จุดอันตราย เส้นทางที่ไม่ได้มาตรฐานจะก่อให้เกิดอุัติเหตุมากขึ้น  เนื่องจากความเคยชินจากการปรับปรุงเส้นทางให้สะดวกสบายมีมาตรฐานบางส่วน  บางส่วนก็เป็นปัญหาที่จะไม่ได้รับการแก้ไขปรับปรุง  คล้ายๆมี ๒ มาตรฐานบนเส้นทางคมนาคมในประเทศไทย  และจะปรับตัวไม่ทันใการเกวดินทาง  ขับมาทางมารฐน  ต่อมาเป็นทางไม่มาณฐาน นใช้รถใช้ถนนจะไม่รู้ว่าเส้นทางมาตรฐานเป็นเส้น

การรณงค์เพื่อสร้างความตระหนัก การให้ความรู้ความเข้าใจ การปลูกฝังทัศนคติที่ถูกต้อง การมีสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม ก็จะมีการร่วมมือของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องแบบต่างคนต่างทำ  กิจกรรมก็ต่างคนต่างทำนั่นแหละถูกต้องแล้ว แต่การกำหนดเป้าหมายวัตถุประสงค์  สัมฤทธิ์ผลของโครงการจะซำ้ไปซ้ำมา  อ้างอิงเอาผลงานกิจกรรมของแต่ละส่วนมาแปะมาติดบ้าง

 

ระบบสนับสนุนการทำงานตามเป้าหมาย เมื่อสิ้นทศวรรษก็จะสมรรถนะการทำงานของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องบนพื้นฐานวัฒนธรรมการทำงานและความรู้ ทัศนคติ  รูปแบบการประเมินดั้งเดิม   ยังไปไม่ถึงกลไกการศึกษาวิจัยถึงปัญหาเชิงโครงสร้าง การศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดอุบัติและสาเหตุความรุนแรงเชิงลึก  การแสวงหามาตรการใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

 

ที่กล่าวมาเป็นการดำเนินการในจังหวัดมหาสารคามเท่านั้น   พื้นที่อาจจะไปถึงดวงดาวก็ได้นะครับ  โลกทรรศน์ที่ใช้ประกอบการเขียนมองเฉพาะในจังหวัดมหาสารคาม

Proudly powered by WordPress