วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การจัดการภัยพิบัติของหน่วยงานราชการ

วิธีการ มาตรการ แนวทางการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติของหน่วยงานราชการ

1. ก่อนการเกิดสาธารณภัย ให้ความสำคัญกับการสร้างกระบวนทัศน์ร่วมกันของหน่วยงานหลัก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานประสานงาน ดังนี้

1) สร้างกระบวนทัศน์ในการจัดการสาธารณภัยร่วมกันของจังหวัดว่า “ภัยพิบัติต้องเกิดขึ้นแน่นอน ฉะนั้น ต้องมีการวางแผนการรับมือโดยอาศัยความรู้ทางวิชาการ และไม่นำไปเชื่อมโยงกับผลประโยชน์ทางการเมือง”

2) ให้ทุกตัวแทนการขัดเกลาทางสังคมให้ความสำคัญกับการรับมือกับภัยพิบัติ อันจะทำให้เกิดการเรียนรู้และเตรียมพร้อม อีกทั้ง จะทำให้เกิดพลังความร่วมมือระหว่างกันเมื่อประสบภัยพิบัติ

2. และเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น จนก่อให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินหรือในภาวะวิกฤตที่มีผลกระทบต่อพื้นที่ระดับจังหวัด จะต้องมีการดำเนินการในภาวะวิกฤต ดังนี้

1) ภายใน 12 ชั่วโมงแรกของการปฏิบัติงาน คือ การลดช่องว่าง(GAP) ใน 2 ด้าน

ด้านแรก การติดตามภารกิจของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ที่เข้าปฏิบัติงานในพื้นที่เกิดภัยพิบัติ

ด้านที่สอง ระบบโลจิสติกส์

2) ภายใน 24 ชั่วโมงแรกของการปฏิบัติงาน คือ การลดช่องว่าง(GAP) ใน 2 ด้าน

ด้านแรก ซักซ้อมความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่บุคลากรในหน่วยงานต่างๆ

ด้านที่สอง ประสิทธิผล โดยยึดหลักที่สำคัญ 2 ประการ คือ ประสิทธิภาพและการลดผลกระทบ

3) ภายใน ๓๖ ชั่วโมงแรกของการปฏิบัติงาน คือ การลดช่องว่าง(GAP) ใน 2 ด้าน

ด้านแรก การประเมินข้อบกพร่อง ข้อขัดข้อง ความล้มเหลวหรือความผิดพลาด (Failure Mode and Effect Analysis(FMEA)) ใน 2 ประเภท คือ

(1) Design FMEA

(2)และ Process FMEA

ด้านที่สอง ศักยภาพการใช้ Statistical process control(SPC) เพื่อติดตามควบคุมและออกแบบกระบวนการทำงานใหม่ จากปัจจัยที่เป็น Common Causes  และ Special Causes

4) ภายใน 48 ชั่วโมงแรกของการปฏิบัติงาน คือ การลดช่องว่าง(GAP) ใน 2 ด้าน

ด้านแรก ห่วงโซ่อุปทาน(Supply Chain) เพื่อให้เกิดคุณภาพ สร้างคุณค่าจากการสอดประสานดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ

ด้านที่สอง การวางกลยุทธ์ Outsourcing เพื่อสนับสนุนห่วงโซ่อุปทาน(Supply Chain)

5) ภายใน 3 วันแรกของการปฏิบัติงาน คือ การลดช่องว่าง(GAP) ใน 2 ด้าน

ด้านแรก การวางกลยุทธ์ Poka-Yoke เพื่อทำให้ข้อผิดพลาดในกระบวนการบริหารจัดการไม่มีวันเกิดขึ้น หรือถ้าหากเกิดขึ้นก็สามารถสังเกตุเห็นได้ทันที

ด้านที่สอง ศักยภาพการใช้  Seven Quality Control Tools เพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการของผู้อำนวยการจังหวัด

3. และภายหลังสาธารณภัยสิ้นสุดลงแล้ว ให้ความสำคัญกับการดำเนินการ ดังนี้

1) ความยั่งยืนของการฟื้นฟูบูรณะ

2) การสรุปบทเรียน


—————–555555555555—————

Proudly powered by WordPress