วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ทัศนคติไร้ภัยพิบัติ

ในมโนจิตแบกแต่ความคิดด้านลบหรือที่ไม่เป็นคุณต่อชีวิตและสังคมไว้เต็มสมองจะไม่ช่วยอะไร นอกจากจะดึงเราและสังคมให้เปราะบาง รอความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติมากระหน่ำซ้ำเติมให้หายนะ  แม้มนุษย์เราจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสามารถในการพัฒนาตัวเองอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมกลายเป็นความจริงได้เพียงแค่เรามีความตั้งใจ มีเป้าหมาย มีแผนการที่ชัดเจน และที่สำคัญเราต้องมีการลงมือทำเพียงเท่านั้นเอง แต่การลงมือทำที่จะไม่ล้มเหลวเราจะต้องมีทัศนคติที่ดีกำกับ  จากการศึกษาทัศนคติที่นำไปสู่ความอยู่รอดปลอดภัยพิบัติ  จากประชาชนจำนวน 450 คนในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ ระหว่างเดือนตุลาคม 2562 – มีนาคม 2563 พบข้อเท็จจริง ดังนี้

ตารางแสดงผลการศึกษาทัศนคติที่นำไปสู่ความอยู่รอดปลอดภัยพิบัติ

ทัศนคติ

ระดับความสำคัญ

Mean

Median

ลำดับความสำคัญ

5

4

3

2

1

เปิดใจกว้างรับสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ

80

90

130

80

70

3.75

3

1

รู้จักสงสัยและตั้งคำถามถึงความเชื่อและกฎเกณฑ์   ต่าง ๆ ที่ถูกอบรมสั่งสอนมาแต่อ้อนแต่ออก

75

108

115

72

65

3.41

3

2

ขยายวงสังคม

70

80

165

45

65

3.15

3

3

รู้จักใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย



120

70

10

2.55

3

4

ตระหนักถึงความขัดแย้งในชีวิต


20

90

60

30

2.35

3

5

สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดในสังคม


15

102

140

56

2.10

3

6

ข้อแรก “เปิดใจกว้างรับสิ่งใหม่อยู่เสมอ”

การเปิดใจรับสิ่งใหม่ ๆ และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนความคิดให้สอดคล้องกับประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต ซึ่งในด้านภัยพิบัติ หน่วยงานที่รับผิดชอบนั้นไม่เพียงข์าดความรับผิดชอบแต้่ยั่งทำงานสนองประโยชน์ของชนชั้นสูงและพวกมีอำนาจเป็นสำคัญ  ความอยู่รอดปลอดภัยจึงต้องมีทัศนคตินี้อยู่เป็นนิจ

ข้อ 2 รู้จักสงสัยและตั้งคำถามถึงความเชื่อและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ถูกอบรมสั่งสอนมาแต่อ้อนแต่ออก

เนื่องจากสภาพนิเวศได้เปลี่ยนแปลงไปจากในอดีตเป็นอันมาก หลักพุทธศาสนาที่สำคัญคือทุกสิ่งที่เกิดขึ้นล้วนมีสาเหตุที่ทำให้เกิดขึ้น และย่อมมีการแปรเปลี่ยนไม่สามารถคงทนอยู่ได้แม้ในขณะจิตเดียว  ความอยู่รอดปลอดภัยพิบัติจึงต้องมีทัศนคตินี้อยู่เป็นนิจ

ข้อ 3 “ขยายวงสังคม”

การมีวงสังคมที่กว้างขวางและแวดล้อมไปด้วยผู้คนที่คิดต่าง เป็นทางที่ดีที่สุดในการเอาชนะความเข้าใจไปเองและการตัดสินคนอื่นล่วงหน้า ทั้งยังทำให้เห็นโลกในมุมมองใหม่ ๆ ผู้คนส่วนมากไม่ว่าจะประกอบอาชีพอะไร “มักจะจำกัดตัวเองอยู่ในวงสังคมที่แวดล้อมไปด้วยคนที่มีความคิดหรือความเห็นไปในเชิงเดียวกัน” การจำกัดตัวเองให้อยู่ในสังคมเดิม มีความคิดแบบเดิม ทำให้ขาดแรงกระตุ้นที่มาท้าท้ายความเชื่อแบบเดิม ๆ ดังนั้น การเอาชนะความคิดแบบเดิม ๆ คือหัดพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนที่มีความเห็นต่างจากเราออกไป การเห็นโลกในมุมมองใหม่ๆ ไม่มีความเข้าใจไปเอง มีความสำคัญต่อความอยู่รอดปลอดภัยพิบัติจึงต้องมีทัศนคตินี้อยู่เป็นนิจ

ข้อ 4 “รู้จักใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย”

การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตหรือแนวทางชีวิตของตนเองอาจกลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับชุมชนหลายแห่งที่หันมาใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายและพอเพียง และให้ความสำคัญกับอสังหาริมทรัพย์ที่สามารถใช้ร่วมกันได้ ความอยู่รอดปลอดภัยพิบัติจึงต้องมีทัศนคตินี้อยู่เป็นนิจ

ข้อ 5 “ตระหนักถึงความขัดแย้งในชีวิต”

เป็นลักษณะของคนส่วนใหญ่ที่มีความขัดแย้งขึ้นในชีวิต ระหว่างความรักต่อมวลมนุษยชาติ ความพยายามจะทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม กับความต้องการฐานะอันมั่งคั่งและวิถีชีวิตที่เต็มไปด้วยสิทธิพิเศษได้อย่างสิ้นเชิง  ความตระหนักถึงความขัดแย้งนี้จะช่วยให้เรามีการตรวจสอบถ่วงดุลให้เรามีวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับสภาพนิเวศมากขึ้น ความอยู่รอดปลอดภัยพิบัติจึงต้องมีทัศนคตินี้อยู่เป็นนิจ

ข้อ 6 พัฒนาหลักการแห่งการ “สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดในสังคม” โดยเริ่มจากก้าวเล็กๆ จากตัวเอง

การเพิ่มพฤติกรรมด้านบวกใหม่ๆ ที่ดีในชีวิต วันหนึ่งพฤติกรรมด้านบวกจะผลักสิ่งแย่ๆ  ออกไปจากชีวิต  ความอยู่รอดปลอดภัยพิบัติจึงต้องมีทัศนคตินี้อยู่เป็นนิจ

—————xxx————–

Proudly powered by WordPress