วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การสื่อสารในภาวะวิกฤตยุคใหม่ (New normal) : การขัดเกลาทางสังคม

ในห้วงกระแส “ความจริง = “FAKE NEWS”” ที่ฝ่ายผู้สนับสนุนรัฐบาลทหารเฒ่าที่เติบโตมาจากก้นกุฏิ และข้าราชการตัวพ่อตัวแม่ในพรรคราชการได้มุ่งที่จะรักษาความสมเหตุสมผลในการคงอยู่ของตน ในสภาวะที่ประชาชนที่มีการสื่อสารทางโซเซียลมีเดียต่างพากันมีความเห็นว่า “ไม่มึความชอบธรรมที่จะอยู่เป็นปรสิตได้อีกต่อไปแล้ว” อีกทั้ง ข่าวจริงข่าวปลอมนั้น ในภาวะวิกฤตยุคใหม่ ทำนองเดียวกับประเด็นข่างจริงข่าวปลอม ข่าวที่สร้างความตื่นตระหนก สร้างความหวาดกลัวให้แก่ประชาชน  ประชาชนต้องเป็นคนเลือกว่าเป็นจริงหรือข่าวลวงสร้างความเสียหาย เป็นการบิดเบือนข้อมูล

1.ในการสื่อสารประเด็นสาธารณะ  ความจริงหรือข้อมูลบิดเบือนนั้น หาใช่รัฐบาลเป็นผู้ผูกขาดตัดสินแต่เพียงฝ่ายเดียว ประชาชนต้องร่วมเป็นผู้ตัดสินใจเองที่จะเลือกเชื่อหรือไม่เชื่อ เป็นข่า

2.ในการสื่อสารข้อมูลของปัจเจกบุคคล หรือองค์กร ถ้าไม่ตรงกับข้อเท็จจริง  ตัวข้อมูลจะเป็นตัวตัดสินว่าข่าวจริงหรือข่าวปลอม

การสื่อสารในภาวะวิกฤตยุคใหม่ (New normal)  หรืออยู่ในช่วงเผชิญสถานการณ์สาธารณภัย  การสื่อสารในภาวะวิกฤตที่ดีนั้น ควรเป็นไป ดังนี้

1.ภาครัฐ

รัฐบาลไม่ควรที่จะมาขัดเกลาประชาชนหรือผู้ประสบภัยพิบัติด้วยการดำเนินคดีกับผู้ประสบสาธารณภัยในประเด็นที่ไม่ได้ก่อความเดือดร้อนความเสียหายที่เป็น  ตรงกันข้ามต้องรวบรวมข้อมูลการสื่อสารในสังคม และอธิบายชี้แจงในประเด็นต่างๆอย่างชัดแจ้งอย่างละเอียดทุกแง่ทุกมุม โดยเฉพาะผลดีผลเสียต่างๆ  และการคาดการณ์ถึงอนาคตที่อาจจะต้องเผชิญ  เพื่อต้องการให้ผู้ประสบสาธารณภัยอยู่ในกรอบที่รัฐต้องการ โดยคาดหวังความปลอดภัยจากกรอบนั้น หรือมุ่งหวังให้ผู้ประสบสาธารณภัยแสดงออกได้ในสิ่งที่รัฐต้องการตามหลักธรรมาภิบาล

ซึ่งในห้วงการเผชิญการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 ในปี 2563-2564 รัฐบาลทหารเฒ่าเติบโตมาจากกันกุฏิ ได้มุ่งดำเนินคดีกับประชาชนผู้ต้องต่อสู้กับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 เพีงเพื่อให้ภาพลักษณ็ของตนเองดูดีเท่านั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกัยความตื่นตระหนกของผู้เผชิญการแพร่ระบาดแต่อย่างใด  ในสังคมมีการสื่อสารกันทางโซเซียลมีเดียที่แพร่หลายจนเข้าใจสถานการณ์เป็นอย่างดี ไม่ได้ตื่นตระหนกแบบขาดสติ แต่อาจจะมีตกหล่นข้อมูลทำให้เกิดการเข้าใจคลาดเคลื่อนเฉพาะบางประเด็นเท่านั้น

รํฐ/ภาคราชการที่ดี คือการสร้างทางเลือกในการเผชิญสถานการณ์ร่วมกัน ร่วมจรรโลงสติปัญญาให้เกิดขึ้นร่วมกัน ซึ่งที่ผ่านมารัฐไทย/ภาคราชการของไทยจะมีสันดานที่ “ไม่เคยเคารพในสติปัญญาของประชาชน นอกจากควบคุมอำนาจ และคิดแต่ว่าทำยังไงให้เสียงไม่แตก และหุบปากทุกคน ด้วยการอ้างว่า “ความจริง = “FAKE NEWS””

2.ภาคผู้ประสบสาธารณภัย

2.1 เข้าถึงช่องทางการสื่อสารให้มากที่สุด

2.2 ใช้ช่องทางตามข้อ 2.1 สื่อสารในประเด็นที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม

เพื่อร่วมกันหาทางออก เผยแพร่ความจริงสู่สังคมให้หลากหลาย การวิพากษ์วิจารณ์ในการทำงานของรัฐบาลและภาคราชการ  ไม่ใช่ข่าวการบิดเบือน

xxxxxxxxxxxxx


Proudly powered by WordPress