วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

หัวใจสำคัญของการลดความเสี่ยงภัยพิบัติ

ในปัจจุบัน ประเทศไทยหลงทิศหลงทางเกี่ยวกับการลดความเสี่ยงภัยพิบัติ เนื่องจากไปมุ่งเน้นที่ทรัพยากรจำเป็นที่จะต้องใช้ ไปมุ่งเน้นการสร้างกิจกรรมให้กับตัวแทนของหน่วยงานภาครัฐที่เรียกว่าอาสาสมัครบ้าง  คณะกรรมการ คณะทำงาน ตามรูปแบบกิจกรรมโครงการของหน่วยงานภาครัฐ  เป็นการผลาญแบบใสซื่อบริสุทธิ์ (อย่างจริงจังและจริงใจ) และสบช่องโอกาสเป็นอีแอบ เป็นจรเข้ เป็น… งาบผลประโยชน์จากการจัดซื้อจัดจ้างแบบที่คุ้นเคย

หัวใจสำคัญของการลดความเสี่ยง เป็นอย่างไร

หัวใจของการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติตามธรรมชาติ คือ การปรับ/การรักษาสมดุลของระบบนิเวศ  ทั้งนี้ ก็เพราะว่า

1.ระบบนิเวศที่ดีให้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตหลากหลาย ให้ความเป็นอยู่ที่ดี ระบบนิเวศที่ดียังเพิ่มความยืดหยุ่นของผู้คนที่อ่อนแอให้มีภูมิต้านทานรับมือ ให้มีสมรรถนะและสามารถฟื้นฟูตัวเองจากภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.ระบบนิเวศเช่นพื้นที่ชุ่มน้ำป่าและระบบชายฝั่งสามารถให้บริการบัฟเฟอร์ธรรมชาติที่คุ้มค่าต่อการจัดกิจกรรมตามธรรมชาติและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

3.ระบบนิเวศที่ดี  นอกจากจะส่งผลให้สุขภาพดี ยังส่งผลให้มนุษย์มีสมรรถนะความยืดหยุ่นต่อเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงได้เป็นอย่างดี

4. ความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกี่ยวข้องกับป่าไม้และป่าพรุลดความสามารถของระบบนิเวศตามธรรมชาติในการกักเก็บคาร์บอนเพิ่มการเกิดและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ

5. ระบบนิเวศที่ไม่ดี มักจะสร้างความขัดแย้งระหว่างมนุษย์ เกิดจากการแข่งขันเพื่อแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติที่หายาก ความขัดแย้งเหล่านี้ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

จากแนวทางทั้ง 5 แนวทางดังกล่าว หากเปลี่ยนจุดมุ่งเน้นมาที่แผนงานโครงการที่เกี่ยวกับระบบนิเวศ สามารถสร้างกลไกการงาบได้ใหม่ แถมยังสร้างผลผลิตที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผลในการลดความเสี่ยงอย่างมีคุณค่าต่อลูกหลานในอนาคต

———————///////////////————————

Proudly powered by WordPress