วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ราชการส่วนภูมิภาคกับภัยพิบัติ : ร่องรอยความโหล่ยโท่ยของส่วนราชการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

คนทำงานราชการส่วนใหญ่ มักจะเข้าใจผิดคิดว่าตัวเองนั้นทำถูกระเบียบถูกแนวทางของคุณงามความดีต่อประเทศชาติโดยสามารถที่จะสร้างกฎระเบียบมาให้ประชาชนได้ปฏิบัติตาม หรือดูแลให้ประชาชนได้ปฏิบัติตามกฎตามระเบียบ ซึ่งเป็นทัศนคติของข้าราชการของประเทศโลกที่สาม ดังนั้น การบริหารงานของเหล่าข้าราชการประเทศโลกที่สาม เราสามารถจะสามารถพิจารณาเห็นร่องรอยความโหล่ยโท่ยของการบริหารงานได้ไม่ยากนัก  ดังเช่น การบริหารจัดการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เราสามารถสังเกตุเห็นร่องรอยความโหล่ยโท่ยจากการบริหารงาน ได้ดังต่อไปนี้

1. ความไม่ชัดเจนถึงผลลัพธ์ที่ได้จากมาตรการจากแนวทางปฏิบัติของตนเอง (สั่งมั่วๆทำมั่วๆ) เช่น ในเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี 54   และการแพร่ระบาดโควิด 19 ปี 63-64

2. การตอบสนองต่อความเร่งด่วน  ที่ผิดทิศผิดทาง ไม่มองเห็นความต้องการจำเป็นของประชาชน

3. ไม่รู้จักสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ให้บรรเทาความเดือดร้อนได้ หรือในทางกลับกัน สร้างสรรค์เพื่องาบเพื่อแดกไม่ใช่เพื่อป้องกันและบรรเทาทุกข์ของประชาชน (ดังจะเห็นได้ชัดเจนกรณีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ได้ผลิตวาทกรรมออกมาเพื่อซื้อวัคจีนๆๆๆๆ อย่างอิ่มหมีพลีมัน)

4. ไม่มีความสามารถแยกประเด็นความร่วมมือ  ด้วยติดยึดกับแนวความคิดระบบสังคมและเศรษฐกิจ รวมทั้ง ระบบการศึกษายังคงได้รับอิทธิพลจากโลกในยุคศตวรรษที่ 20 และความหอมหวานของระบบอำนาจนิยม

Proudly powered by WordPress