วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ด้านมืดของประชาชนที่ควรจะพัฒนาระบบการสื่อสารภัยพิบัติ

 

จากการบริหารจัดการที่ไร้ความสามารถและไร้สำนึกในการรับมือกับปัญหาการระบาดของไวรัสโคโรน่า ทำให้เกิดภาวะล้นทะลักไปในทางเดียวมากเกินไป ไปในทางหวาดกลัว ไปในทางที่จริตของตนชื่นชอบ (เพราะ FACEBOOK กรองให้ตามที่คนใช้ชื่นชอบ  LINE ก็จะเป็นลักษณะจำกัดอยู่ในวงเดิมๆ แคบๆ เฉพาะกลุ่ม)

ในช่วงแรกๆ สังคมจะมีอารมณ์แบบชนชั้นกลางเกลียดกลัวผีน้อยผู้ใช้แรงงานว่าจะนำพาโรคกลับมา(มีคนไทยกลับมาจากประเทศเอเซียตะวันออกในช่วงแรกของการระบาดหลายหมื่นคน)

ต่อมา สังคมไทยก็จะมีอารมณ์หมั่นไส้พวกคนมีตังค์หรือนักเรียนนอกที่เพิ่งบินกลับมาจากประเทศสหรัฐอเมริการและประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป ที่ไม่ยอมกักตัวในสถานที่ของรัฐ เพราะมาตรการของรัฐเพิ่งจะเปลี่ยนกะทันหัน จากที่บอกว่าให้หาใบรับรองและกักตัวที่บ้าน 14 วัน แต่บินกลับมาต้องไปกักตัวตามที่รัฐจัดหาสถานที่รองรับไว้ รวมถึงการปิดประเทศใส่พลเมืองตัวเอง จะเข้ามาจากประเทศรอบๆ บ้านเรา ไม่ได้เลย

ในสถานการณ์วัดใจแบบนี้ โรคระบาดระดับหนึ่งร้อยปีจะมีสักครั้ง แน่นอนว่าไม่มีรัฐบาลไหนเตรียมใจเตรียมพร้อมรับมือ สิ่งที่จะวัดประสิทธิภาพของรัฐคือการตอบสนองและออกแบบระบบที่ทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ คนไทยโชคร้ายมากพออยู่แล้วที่มีรัฐบาลไร้ประสิทธิภาพ สิ่งที่เราต้องมีต่อกันในตอนนี้คือความเห็นอกเห็นใจและความเชื่อมั่นในกันและกัน (อย่างน้อยควรจะเชื่อว่าคนที่กลับมาจากต่างประเทศทุกคนก็น่าจะมีวินัยพอที่จะไม่ทำให้คนที่บ้านหรือคนในครอบครัวตัวเองต้องตกอยู่ในความเสี่ยง)

คนไทยโชคร้ายพอแล้วที่มีรัฐบาลโง่เง่าเลวร้ายที่ไม่เคยเอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง ประชาชนไม่ควรทำร้ายกันเองและตกเป็นเครื่องมือให้รัฐปั่นหัว สิ่งที่เราควรมีต่อกันในช่วงเวลาแบบนี้คือความเห็นอกเห็นใจและความเชื่อมั่นในกันและกัน

ถ้าสังคมเรารุ่มรวยด้วยทุนทางสังคมเดิมที่มีอยู่ เรานำมาใช้ได้ จัดการได้ ซึ่งทุนหนึ่งก็คือความไว้วางใจกัน ความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกันในเวลาที่เผชิญกับวิกฤติ เป็นศักยภาพอย่างหนึ่งที่ถ้าขาดไปก็ทำให้สถานการณ์มันแย่

อีกส่วนคือประเทศไทยมีระบบบริการหมู่บ้าน อำเภอ ตำบล เรียกว่าเป็นระบบบริการปฐมภูมิที่อาจจะเรียกว่าดีที่สุดประเทศหนึ่งของโลก

———————–////////////////————————-

Proudly powered by WordPress