วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

เทคโนแครตกับภัยพิบัติ

เทคโนแครต หมายถึงผู้มีความรู้วิทยาการในสาขาต่าง ๆ ที่มามีอิทธิพลในการกำหนดนโยบายสาธารณะ จากเดิมที่มีแต่พวกที่มาจากพรรคการเมืองเป็นผู้กำหนด  ในอดีตเทคโนแครตในแวดวงวิชาการจะมีบทบาทในการกำหนดนโยบายสาธารณะ แต่ในปัจจุบันเมืองไทยเทคโนแครตที่มีอิทธิพลในการกำหนดนโยบายสาธารณะจะมาจากกลุ่มสาขาราชการ และบริษัทบรรษัทขนาดใหญ่ที่อยู่ในระดับสนับสนุนนักการเมืองเพื่อผลประโยชน์ เพียง 2 กลุ่มเท่านั้น https://www.posttoday.com/politic/news/352092 ภายหลังรัฐประหารปี 2557 ได้มีการดึงพวกอดีตข้าราชการระดับสูงที่จบต่างประเทศมาร่วมกันทำนโยบายสาธารณะ ที่จะมีอิทธิพลต่อเนื่องไปจนถึง ปี 2570

กติกาการเมืองชุดใหม่นี้ ประสบความสำเร็จตามเจตนารมณ์ของผู้ร่างคือ การควบคุมรัฐสภาจากกลุ่มนอกรัฐธรรมนูญ และระเบียบแนวคิดในการบริหารราชการแผ่นดินที่ภาคราชการไม่ได้เป็นเพียงช่างเทคนิค’ ซึ่งต้องปฏิบัติตามคำสั่งของนักการเมือง และมิได้มีส่วนอย่างสำคัญในการกำหนดเนื้อหาของนโยบายอีกต่อไป  (จำกัดกรอบการใช้อำนาจบริหารของรัฐบาลจากการเลือกตั้งลง)

แล้วเทคโนแครตเกี่ยวข้องอย่างไรกับการจัดการภัยพิบัติ

1.กฏกติกาที่แทคโนแครตสร้างขึ้น เป็นเพียงการบอกเล่าข้อปฏิบัติหรือแนวทางปฏิบัติที่ไม่ยืดหยุ่นพอที่จะสร้างความร่วมมือที่ยีดหยุ่นได้  ทำให้เกิดผล กระทบต่อประชาชน และล้าหลัง  เช่น สถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ในช่วงต้นปี 2563  มาตรการที่แทคโนแครตทั้งระดับส่วนกลาง และระดับจังหวัดล้วนไม่ยืดหยุ่น และไม่นำไปสู่ความยั่งยืน

2. การตรวจสอบประเมินผลการดำเนินการที่ไร้ความรับผิดชอบต่อ

2.1 ภาระรับผิดชอบต่อสาธารณะ (Public Accountability)

คำว่า สาธารณะในที่นี้หมายถึง ประชาชน ชุมชน องค์กรประชาสังคม สื่อมวลชน และกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ จึงทำให้ การบริหารราชการแผ่นดินจะต้องเป็นไปอย่างเปิดเผยและสามารถให้ประชาชน หรือกลุ่มบุคคลฝ่ายต่างๆมีโอกาสเข้ามาร่วมสังเกตการณ์ มีส่วนร่วมในการตัดสินใจร่วมดำเนินงาน หรือเป็นผู้ตรวจสอบและประเมินผลมากขึ้นอันเป็นไปตามกระแสแนวความคิดเกี่ยวกับ “ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม”

เกิดสาธารณภัยขึ้นมาคราใด  ราชการมักไม่แยแสต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเฉพาะยามใดที่ปกครองโดยเผด็จการก็มักจะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อจะบังคับควบคุมประชาชนอย่างเต็มกำลัง

2.2 ภาระรับผิดชอบต่อตลาด (Market Accountability)

ซึ่งภาระรับผิดชอบต่อตลาด คือ จะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและระบบตลาด โดยเฉพาะการลดความผูกขาดของรัฐ หรืการปรับใช้ให้เข้าสู่สภาพการแข่งขันในระบบตลาด และการส่งเสริม สนับสนุน ให้มาแข่งขัน ในการจัดบริหารสาธารณะเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีทางเลือกมากขึ้น

เกิดสาธารณภัยขึ้นมาใด หากประเทศถูกเผด็จการปกครองก็มักให้พรรคพวกเข้ามาครอบครองตลาดเพื่อหาเงินหาทอง เช่น กรณีหน้ากากอนามัยในช่วงระบาดไวรัสโควิด 19 ที่มีการกักตุนให้ขาดแคลนเพื่อให้ราคาสูงขึ้น  ปลากระป๋องเน่าข้าวเน่าในยุคพรรคประชาธิปัตย์ที่ให้พรรคพวกผลิตไม่ได้ซื้อจากท้องตลาด ซื้อสารเคมีจากพรรคพวกมาแจกจ่ายเป็นพันล้านๆ ทั้งที่ไม่มีสถานการณ์  ซื้อเรือจากพรรคพวกในช่วงน้ำท่วม 2554 มาจมหายแล้วแทงชำรุดสูญหาย (ไม่ได้ซื้อมาจริง) ฯลฯ

————————///////////////—————————-

 

2.

Proudly powered by WordPress