วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

เทคโนโลยีสำหรับจัดการน้ำ

มุมมองเทคโนโลยีในการจัดการน้ำ ประเด็นใหญ่ๆ ที่มองกันโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ เทคโนโลยีสำหรับความต้องการของการใช้น้ำ (Water Demand) และเทคโนโลยีสำหรับปริมาณน้ำที่นำมาใช้ได้ (Water Supply)

1.เทคโนโลยีสำหรับความต้องการของการใช้น้ำ (Water Demand)

ใช้เทคโนโลยี ทางด้านการสำรวจจากระยะไกล สามารถประยุกต์ใช้ในการ ติดตามชีพลักษณ์ของพืช (Phenology) จากข้อมูลจาก ดาวเทียมที่มีช่วงคลื่น Near-infrared เช่น Landsat, Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer (MODIS) หรือไทยโชต (THEOS) ซึ่งเป็นดาวเทียมสำรวจโลกดวงแรกของ ประเทศไทย นอกจากนี้ยังสามารถประยุกต์ใช้จากเทคโนโลยีทาง ด้านการสำรวจจากระยะไกล ในการคำนวณค่าการคายระเหยน้ำ (Evapotranspiration) จากดาวเทียมที่มีช่วงคลื่น Thermal Infrared เช่น Landsat, MODIS และ Suomi NPP เป็นต้น

2. เทคโนโลยีสำหรับปริมาณน้ำที่นำมาใช้ได้ (Water Supply)

ใช้เทคโนโลยีทางด้านการสำรวจจากระยะไกล ในการประเมิน ขนาดและหาตำแหน่งของแหล่งน้ำ ทั้งยังช่วยประเมินปริมาณ หยาดนำ้ฝน (Precipitation) โดยใช้เครื่องตรวจวัดแบบ แพสซีฟ หรือแบบเฉื่อย (Passive Sensor) และเครื่องตรวจ วัดแบบแอ็กทีฟ (Active Sensor) หรือแบบขยัน จาก โครงการ Global Precipitation Measurement (GPM) ด้วย ระบบเรดาร์ Dual-frequency Precipitation Radar (DPR) ตัวแปรที่สำคัญของวัฏจักรน้ำอีกตัวแปรหนึ่งคือปริมาณความชื้น ในดิน (Soil moisture) ในอดีต การตรวจวัดปริมาณความชื้น ในดิน ทำได้เพียงการตรวจวัดโดยตรงในสนาม ในปัจจุบันสามารถ ตรวจวัดข้อมูลดังกล่าวจากห้วงอวกาศ จากดาวเทียม Soil Moisture Active Passive (SMAP) โดยอาศัยหลักการคุณสมบัติ การแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของน้ำและดิน การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในยุค Thailand 4.0 จำเป็น จะต้องปรับเปลี่ยนให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น โดยประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีจากหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีทางด้านการ สำรวจระยะไกล เครือข่ายเซนเซอร์ภาคพื้นดิน ตลอดจนการใช้ เทคโนโลยีในการเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างเข้าสู่อินเทอร์เน็ต (Internet of Things) ซึ่งสามารถนำข้อมูลมาช่วยวิเคราะห์ได้แบบทันที (Real Time) และการวิเคราะห์ข้อมูลมีหลายมิติมากยิ่งขึ้น”

——————–////////////////////———————-

Proudly powered by WordPress