วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

มุมมองที่ถูกต้องต่อภัยพิบัติ

อ่านเอกสารที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติ พบบ่อยมากที่กล่าวอ้างถึงความจำเป็นที่จะต้องจัดทำโครงการหรือจัดงบประมาณดำเนินการ คือ ภัยพิบัติมีความถี่หรือความรุนแรงสูงขึ้น ซึ่งเป็นการมองที่ไม่สะท้อนให้เห็นความจำเป็นในแนวทางการแก้ไขปัญหา

ทั้งนี้ มุมมองที่ถูกต้อง ที่ต้องรับรู้และต้องมีความกระจ่างชัด หรือมีความจำเป็นต่อการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ คือ

1. คนมีความเปราะบางเพิ่มขึ้น ด้วยความไม่รู้หรือด้วยความจำเป็นอย่างไรบ้างด้วยการสร้างเงื่อนไขให้ตนเองมีความเปราะบางเพิ่มขึ้น  จำเป็นจะต้องแนวทางดำเนินการทั้งระเบียบข้อบังคับ  แนวทางปฏิบัติที่จถลดความเปราะบางหรือมิให้เกิดความเปราะบาง เช่น การเข้าไปตั้งบ้านเรือนในที่ลุ่มตำ่ จะต้องมีการจัดสร้างโครงสร้างการระบายน้ำที่มีประสิทธิภาพ การอาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติแผ่นดินไหวต้องข้อบังคับการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน การฝึกอบรมการปฏิบัติตัว

2. คนมีความสามารถในการรับมือกับการผันแปรของธรรมชาติลดลง เนื่องจากวิถีชีวิตของคนในปัจุบันจะไม่ได้รับรู้ ไม่คุ้นเคย ไม่ค่อยได้สัมผัสกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เราอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เราสร้างสรรค์ได้ตามใจ โดยมองไม่เห็นผลกระทบที่จะเกิดหายนะตามมา  ไม้เคยแม้แต่จะคำนึงถึง

สภาพปัญหาดังกล่าวยิ่งทับถมซ้ำเติมด้วยอำนาจของพรรคราชการที่บริหารงานในหน่วยงงานของรัฐ  นำสถิติคนที่เดือดร้อน จำนวนหลังคาเรือน จำนวนชุมชนที่ประสบภัยพิบัติไปดำเนินการแก้ไข โดยมองไปที่เครื่องมืออุปกรณ์ที่ตนเองจะต้องเตรียมพร้อมไว้ช่วย เช่น บริษัทป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจำกัดทุ่มซื้อรถดับเพลิงหลายพันล้านบาท ทั้งๆ ที่ อบต. เทศบาลเองก็แทบจะไม่สามารถเข้าถึงที่เกิดเหตุได้ทัน  บ้านเรือนวอดวายไปเสียก่อนที่จะดับเสียอีก  จัดซื้อจอดไว้เป็นพิพิธภัณฑ์ตามศูนย์ ปภ.เขตต่างๆ ทั้งรถเคลื่อนย้ายคันละ 5-6ล้าน ก็จัดซื้อไว้แล้ว 300 คัน และมีแผนจะซื้อให้ครบ 600 คัน  รถประกอบอาหารอีก 300 กว่าคัน  คนซื้อจากดูแล สส. จนเขาจะให้ไปตั้งพรรคการเมือง

ถ้ามีมุมมองตามข้อ 1 และข้อ 2  งบประมาณที่ใช้ก็ต้องไปลดความเปราะบาง ไปเพิ่มความสามารถของคน  อดซื้อเลยกู

 

——————-xxxxxxxxxxxxxxxxxxx—————-

Proudly powered by WordPress