วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การมองอนาคตสาธารณภัย

สถานการณ์ของสาธารณภัยในยุคปัจจุบันซึ่งกำลังเผชิญกับความท้าทายรูปแบบใหม่ที่มีพลวัตการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงและรวดเร็ว ในขณะที่แนวความคิดระบบสังคมและเศรษฐกิจ รวมทั้งระบบการศึกษายังคงได้รับอิทธิพลจากโลกในยุคศตวรรษที่ 20 ดังนั้นความสามารถในการวิเคราะห์ อธิบาย คาดการณ์ ออกแบบ และสื่อสารอนาคต ที่จะอยู่ร่วมกับสาธารณภัยอย่างสมเหตุสมผล จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการอยู่รอดของปัจเจกบุคคล องค์กร ชุมชน ประเทศ และมนุษยชาติ  “คนที่อยู่ภายใต้บริบทที่เปลี่ยนไป แต่ทำแบบเดิมซ้ำ ๆ แล้วหวังว่าจะได้ผลลัพธ์เหมือนเดิม ก็ไม่ต่างกับ คนที่อยู่ภายใต้บริบทเดิม ทำแบบเดิมซ้ำ ๆ แล้วหวังว่าจะได้ผลลัพธ์ใหม่” 

ความสลับซับซ้อนของบริบทเป็นตัวบ่งชี้เบื้องต้นว่าควรใช้เครื่องมือใดในการมองอนาคต โดยเฉพาะการมองอนาคตสาธารณภัย มีความสลับซับซ้อนอย่างยิ่งสำหรับเครื่องมือนี้เสนอวิธีกำรวิเครำะห์บริบทของอนาคตไว้ 2 วิธี คือ

1.การสำรวจสภาพแวดล้อมเชิงลึก (Deep Horizon Scanning) ต้องมีข้อมูลทุกมิติที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์และวางแผนเพื่อรองรับอนาคต โดยการสำรวจสภาพแวดล้อมมีหลากหลายเทคนิค ได้แก่

1.1 เทคนิค STEEP (Social, Technological, Environmental, Economic, Political)

1.2 เทคนิค PEST (Political, Economic, Social, Technological)

1.3 เทคนิค PESTEL (Political, Economic, Social, Technological,Environmental, Legal)

1.4 เทคนิค PESTELO (Political, Economic, Social, Technological,Environmental, Legal, Organization

2.การวิเคราะห์ความสลับซับซ้อนของอนาคต (Futures Complexity Analysis)

2.1 ถ้าเพื่อการวิเคราะห์ ใช้เครื่องมือในกลุ่มคาดการณ์หรือทำนายอนาคต (Futures Projection) หรือกลุ่มการเปรียบเทียบหรือปรับแต่งอนาคตจากข้อมูลปัจจุบัน (Futures Calibration) หากมีความสลับซับซ้อนสูง

2.2 ถ้าเพื่อการออกแบบใช้เครื่องมือในกลุ่มการกำหนดทิศทางอนาคต (Futures Formulation)หรือการจินตนาการอนาคต (Futures Ideation) หากหากมีความสลับซับซ้อนสูง

xxxxxxxxxxx

Search

Social

Facebook : <a href="https://www.facebook.com/profile.php?id=61555375088440"

Instagram

Twitter