อุปสรรคของการจัดการภัยพิบัติในประเทศไทย เป็นปราการอันแข็งแกร่งที่กั้นประชาชนไม่ให้มีพื้นที่แห่งความปลอดภัย ด้วยสังคมไทยได้เคลื่อนไปสู่สังคมพหุวัฒนธรรม. แม้จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างความสัมพันธ์ด้านต่างๆ ใหม่มากมายหลายด้าน แต่น่าเสียดายที่พหุวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นหลากหลายได้ละเลยความสัมพันธ์กับด้านภัยพิบัติ
ข้อสังเกตุถึงการละเลยก็คือ
วัฒนธรรมเป็นเสมือนเวทีหรือเป็นพื้นที่ทางสังคมในการจัดการภัยพิบัติ ถ้าเรามีพื้นที่ทางความคิดใหม่ๆ ของการจัดการร่วมกัน จะช่วยให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนที่มีความหลากหลายได้ในความหลากหลายก็เป็นการสร้างการกระทำที่จะหล่อหลอมเป็นวัฒนธรรมขึ้น เกิดข้อตกลงของการอยู่ร่วมกันในสังคม
- ในการบริหารจัดการภัยพิบัติที่มีประสิทธิภาพ สังคมไทยต้องเปลี่ยนบรรทัดฐานใหม่ว่าเราจะมุ่งไปสู่สังคมแบบเสมอภาคมากขึ้น ที่จะทำให้มีมิติที่จะคุ้มครองคนในสังคมได้อย่างถ้วนหน้า ภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม การบริหารจัดการภัยพิบัติ ในที่นี้ จะไม่ใช้ ไม่ใช้ในความหมายวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในสังคม (Culture as Given) ที่ส่วนใหญ่ผูกติดอยู่กับผู้คนและคุณค่าที่เป็นแก่นแท้ของผู้คน ซึ่งนำมาใช้ไม่ได้เด็ดขาด ไม่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ที่เป็นจริงหรือปรากฎการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น
- แต่ในการบริหารจัดการภัยพิบัติ จะใช้วัฒนธรรมในความหมายที่มีอยู่แล้วคงไม่มีประสิทธิภาพ จะมีประสิทธิภาพได้ ต้องเป็นการสร้างวัฒนธรรมขึ้นมาใหม่ โดยสังคม ต้องร่วมกันตัดสินใจเสกสรร สถาปนาขึ้นหรือสร้างขึ้น โดยจะใช้โดยเน้นในความหมายว่าลักษณะสัมพันธ์ (Cultural Relative)ในพื้นที่ทางกายภาพหนึ่งๆ จะไม่ได้มีอิทธิพลเฉพาะในพื้นที่นั้นๆ เท่านั้น แต่ยังได้แพร่กระจาย และส่งอิทธิพลครอบงำไปยังที่อื่นๆ
- ดังนั้น ไม่ใช่ อยู่ดีๆ เราจะเอาอะไรไปยัดเยียดก็ได้ ถ้าไปยัดเยียดด้วยอุดมการณ์ในลักษณะที่เอาส่วนรวมไปยัดเยียดให้ก็ถือว่าเป็นเรื่องของอุดมการณ์ เท่านั้น มนุษย์ไม่ได้ผูกติดกับอุดมการณ์ แต่ขึ้นกับปฏิบัติการในพื้นที่ทางสังคมที่อยู่ตรงกลางระหว่างอุดมการณ์ต่างๆ ซึ่งเรียกว่า ปริมณฑลสาธารณะ(Public Sphere) ที่จะเปิดให้มีความพยายามสร้างข้อตกลงหรือสิ่งที่ยอมรับได้ในขณะใดขณะหนึ่งที่เป็นจริงได้โดยไม่ยึดติดกับอุดมการณ์ คล้ายๆ กับโครงการซีซีดีดีเอ็มเอ็มอะไรของกรม ปภ.นี่แหละ กิจกรรมอะไรต่างๆ นานาของชุมชน เป็นเพียงการตอกย้ำศักยภาพของหน่วยงานภาครัฐเท่านั้น ส่วนใหญ่ไม่มีผลกระทบอะไรต่อชุมชนท้องถิ่น
วัฒนธรรมนั้นล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งสมมุติทั้งสิ้น สิ่งสมมุติเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆ และไม่ได้เหมือนกันทั้งหมด รูปแบบก็ไม่ได้เหมือนกันหมดเพราะขึ้นอยู่กับปฏิบัติการของการต่อสู้ทางความคิดของคนที่อยู่ในสถานการณ์เดียวกัน
————————–55555555—————————————