วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ทุน(capital) คือปัจจัยการผลิตประเภทหนึ่ง ส่วนต้นทุน (cost) คือสิ่งที่ต้องยอมสูญเสียเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ เช่น ต้นทุนค่าเช่า ค่าจ้าง ดอกเบี้ย และอื่นๆ เป็นต้น  ดังนั้น เมื่อนำมาอธิบ่ายพฤติกรรมทางสังคม จึงได้ความหมาย ดังนี้

1. ทุนทางสังคม (social capital) ซึ่งหมายถึง ผลกระทบเชิงบวกหรือปัจจัยทางสังคมที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาที่ดีขึ้น หรือทำให้เกิดคุณค่าและมูลค่าเพิ่มต่อการผลิตหรือการพัฒนานั้น

2. ต้นทุนทางสังคม (social cost) หมายถึง ความสูญเสียหรือผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้นกับสังคม อันเนื่องมาจากการประทำใดการกระทำหนึ่ง เช่น การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างไม่มีแบบแผน อาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อโครงสร้างทางสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ในยามเกิดสาธารณภัย  จะสามารถเผชิญหรือสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงต่อสู้ ได้ดีแค่ไหนก็ขึ้นกับทั้ง ทุนทางสังคมและต้นทุนทางสังคม โดยมีลักษณะการใช้ในยามเผชิญสาธารณภัย ดังนี้

1.ใช้จากที่สะสมจากอดีต ในยามเผชิญสาธารณภัยเราจะนำสิ่งที่เราไว้ในอดีตมาใช้ทั้งที่เป็นทุนทางสังคม (social capital) และต้นทุนทางสังคม (social cost)  เราทำมาดีเราก็จะได้ผลกระทบที่ดี สามารถแก้ไขบรรเทาปัญหาได้อย่างราบรื่น  เราทำมาฟอนเฟะเราก็จะยากลำบากมากยิ่งขึ้นสูญเสียมหาศาล จนอาจถึงกลับสูญเสียชีวิต  เช่น เมื่อเราเผชิญสาธารณภัยโควืด 19 ในปี 2564  เรายากลำบากเพราะเราได้ยอมให้โจรมาปกครอง ทั้งๆ ที่พอจะแก้ไขบรรเทาปัญหาได้กลับถูกปล้นแล้วปล้นอีก

2.ต้องสร้างให้เกิดขึ้นในปัจจุบันขณะกำลังเผชิญสาธารณภัย  คือเฉพาะทุนทางสังคม (social capital) ต้องประเมินสภาพนิเวศให้กระจ่างว่า ทำสิ่งใดแล้วเกิดผลกระทบเชิงบวก ส่งเสริมการพัฒนาให้ดีขึ้น เกิดคุณค่ามีการพัฒนาขึ้น  (อย่าไปคิดเรื่องในอดีต เร่งสร้างปัจจุบัน) ตัวอย่างทุนทางสังคมในยามเผชิญสาธารณภัยที่ต้องเร่งให้เกิด มีดังนี้

2.1 ความไว้เนื้อเชื่อใจกัน จะต้องรักษาให้ทุกฝ่ายทุกปัจเจกบุคคลไม่ทำอะไรที่จะทำให้ขาดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน เช่นตัวอย่างในปี 2564 เมื่อเราเผชิญสาธารณภัยการแพร่ระบาดโควิด ปกติเราจะสามารถไว้เนื้อเชื่อใจได้ว่ารัฐบาลจะจัดหาวัคซีนที่มีคุณภาพมาให้ประชาชนได้ฉีดเข้าร่างกายให้ร่างกายมีภูมิป้องกันเชื้อไวรัสได้  เราจะไว้เนื้อเชื่อใจได้ว่าเมื่อยามที่เราป่วยภาครัฐจะให้เราเข้าไปรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลได้    หรือสั่งหยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเราจะไว้เนื้อเชื่อใจว่าต้องมีการชดเชยเยียวยา (ยกเว้นสั่งห้ามพระหยุดรับนิมนต์ ห้ามข้าราชการหยุดวันเว้นวัน ฯลฯ เพราะเป็นเศรษฐกิจทางอ้อม)

2.2 ธรรมาภิบาล เราคงไม่รอเฉพาะความไว้เนื้อเชื่อใจขับเคลื่อนเพียงลำพัง  เราจะต้องมีการรับส่งสื่อสารความเข้าใจความต้องการและปรับพฤติกรรมปรับการทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกัน  จะมาสั่งแบบเผด็จการ (ถ้าฉลาดแบบจีก็ดีไป) จะมาสั่งแบบเด็กปฐมเล่นเฮือนน้อยไม่ได้นะครับ   ต้องพูดจาสื่อสารกันได้  ไม่พยายามยัดกฎหมายยัดคดีให้กันและกัน

xxxxxxxxxxxxxxxxxxx