แนวทางการบริหารสถานการณ์วิกฤตกรณีโรคระบาด ในที่นี้จะไม่กล่าวถึงกระบวนการดำเนินการบริหาร เพียงจะกล่าวถึงแค่เป้าหมายในการบริหารสถานการณ์ ซึ่งมีเพียง 2 เป้าหมายหลัก คือ
1.ลดการแพร่เชื้อ
1.1 ด้านระบบสังคม
1) ไม่จำกัดเวลาแต่จำกัดสถานที่บางแห่ง โดยหลีกเลี่ยงการจำกัดเวลาการใช้วิถีชีวิตปกติ การทำกิจกรรมที่สามารถจัดการป้องกันตามระบบสุขภาพได้ ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารที่จัดระยะห่างกายภาพได้ ห้างสรรพสินค้า ตลาด โรงเรียน โรงภาพยนต์ ฯลฯ ผับ บาร์ถ้าจัดระห่างทางกายภาพคนก็คงไม่ไปกัน ต้องปิดโดยตัวเอง
2) ให้พื้นที่ทางสังคมมากขึ้น มีช่องทางการพูดคุย เสนอแนะ การสอดส่อง มาตรการควบคุมโดยสังคม หรือเปิดโอกาสให้คนได้สื่อสารแลกเปลี่ยนโดยไม่มีคำาตอบที่ตายตัวรออยู่
1.2 ด้านระบบสุขภาพ
1) มีการกักโรคและคัดกรองแยกโรค และต้องดำเนินการให้ได้ 100 % https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_srrt/g_srrt_041263.pdf
-ในเชิงรับกับกลุ่มคน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เข้ารับบริการสถานพยาบาล และกลุ่มเสี่ยงเป้าหมาย เช่น ผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ
– ในเชิงรุกกับพื้นที่เสี่ยงพื้นที่ทีมีการระบาด ตรวจคัดกรองให้ได้ 100 %
2)บังคับมาตรการด้านสุขอนามัยส่วนตัวเมื่อมาอยู่รวมกันในพื้นที่สาธารณะ (ยกเว้นการบังคับในพื้นที่ส่วนตัว) เช่น การเพิ่มระยะห่างทางกายภาพ การใส่หน้ากากอนามัย การตรวจวัดอุณหภูมิ การทำความสะอาดร่างกาย https://covid19.anamai.moph.go.th/th/establishments/?Sys_Page=2&Sys_OrderBy=news&Sys_ASCDESC=ASC
2.เพิ่มภูมิคุ้มกัน คนที่ยังไม่ติดเชื้อต้องมีภูมิคุ้มกัน
2.1 ด้านระบบสังคม
1) สนับสนุนพลวัตทางสังคมที่เกี่ยวกับการลดการแพร่เชื้อ เช่น การตามรอยโรค เข้าถึงคนที่แตกต่าง
หลากหลายได้มากขึ้น
2) ให้การเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้น
3) สนับสนุนหรือรักษาระดับการบริโภคสินค้า
2.2 ด้านระบบสุขภาพ
1) ให้วัคซีน https://www.bbc.com/thai/thailand-56828183
2) สร้างการรับรู้การบำรุงสุขภาพให้แข็งแรงต้านทานโรค
———–xxxxxxxxxxx——————-