วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

บทเรียนการรับมือการแพร่ระบาดของโรคระบาดจากกรณีโควิด 19 ในประเทศเทศไทย ตั้งแต่ ต้นปี 2563 ถึงต้นปี 2565 จากการที่รัฐบาลไทยนิ่งนอนใจต่อสัญญาณวิกฤต ไม่เตรียมพร้อมรับมือ  ดำเนินการเพียงการตั้งรับแบบปัดข้อเท็จจริงการระบาดไว้ใต้พรม  ให้มีกักตัว  มีการประกาศปิดพื้นที่บางแห่ง ซึ่งดูเหมือนรัฐบาลจะโฆษณาชวนเชื่อว่าทำได้ดีจนทั่วโลกยกย่องชมเชยhttps://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2149693

การดำเนินการดังกล่าวข้างต้น ดูเหมือนจะรับมือแบบห่วยๆ ได้ก็เฉพาะไวรัสสายพันธ์อู่ฮั่น  ซึ่งระบาดในปี 2563 แต่เมื่อไวรัสสายพันธ์เดลต้าได้เริ่มระบาดตั้งแต่ต้นปี 2564  คำว่าการบริหารล้มเหลว  ทำงานแบบไร้สมองของรัฐบาล ประชาชนแทบทุกกลุ่มจึงได้ตระหนัก แม้รัฐบาลจะออกมาโหมโฆษณาชวนเชื่ออย่างไรก็ตามก็ไม่อาจปกปิดความล้มเหลวได้

ทั้งบุคลากรทางการแพทย์ที่ฉีดวัคซีนแล้วตามมาตรฐาน 2 โดสก็น่าจะมีภูมิคุ้มกัน แต่ปรากฎว่าติดเชื้อโควิด 19 ล้มตาย  เกิดข้อกังขาต่อคุณภาพวัคซีนที่นำมาฉีด และมีข่าวจากหลายประเทศที่ฉีดวัคซีนยี่ห้อซิโนแวคแล้วร่างกายไม่มีภูมิต้านทานต่อไวรัสแต่อย่างใด  ผู้ป่วยที่ไวรัสลงปอดต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจนโรงพยาบาลในพื้นที่ กทม.ไม่สามารถรองรับผู้ป่วยได้ ผู้ป่วยบางรายที่เป็นคนต่างจังหวัดเข้ามาทำงานใน กทม.และปริมณฑลต่างหนีกลับไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลในต่างจังหวัด  คนใน กทม.และปริมณฑลที่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลต้องนอนรอความตายที่บ้าน หรือจำเป็นต้องออกนอกบ้านก็สิ้นใจกันกลางถนนนับสิบราย  วัดเผาศพก็โกลาหลจนต้องจัดระเบียบ “วัดพร้อม”ที่จะเผาศพคนตายจากการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

จากที่กล่าวข้างต้น หากรัฐบาลมุ่งมั่นที่จะดำเนินการ 5 ขั้นตอนนี้  ประเทศไทยคงไม่พบกับวิกฤตเลวร้ายดังกล่าวมาข้างต้น

1. มุ่งมั่นตรวจจับสัญญาณวิกฤต

รู้ว่าใคร กลุ่มใด พื้นที่ไหนติดเชื้อ

2. รวบรวมประมวลผลข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ (ความสามารถยังไม่ถึง Big data ก็สามารถรับมือได้สบาย)

รวบรวมข้อมูลที่เป็นความเสี่ยง ไม่มองข้อมูลแบบโลกสวยหรือมุมมองบวกแบบไร้เดียงสา อย่าง รมว.กระทรวงสาธารณสุข “มันแค่โรคหวัดธรรมดา”  ทรัพยากรที่จะรักษาพยาบาล ที่จะป้องกันมีเพียงพอหรือไม่ (มีข่าวคนในกลุ่มพรรคพวกในรัฐบาลนี้กักตุนหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ)

3. วิเคราะห์คาดการณ์สถานการณ์วิกฤต

3.1คาดการณ์แนวโน้มที่เลวร้ายที่สุดไว้รับมือ โดยอาศัยความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญหลายๆ กลุ่ม   แม้อาจจะไม่เข้าใจสถานการร์แจ่มแจ้งแต่ก็พอจะเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมากกว่าคนกลุ่มอื่น

3.2 คาดการณ์แนวทางการแก้ไขที่ดีที่สุด และเข้าแทรกแซงสถานการณ์มิให้สถานการณ์เคลื่อนไปตามกลไกของมันอย่างอิสระ

4. จัดทำแผนป้องกันวิกฤต

ต้องวางแผนให้ครบทุกด้าน ทั้งประเด็นสุขภาพ ประเด็นเศรษฐกิจ ประเด็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ฯลฯ วางไว้ให้รู้ลำดับก่อนหลัง สำคัญเร่งด่วน มีงบประมาณสนับสนุน มีขุนพลดำเนินการ มีการสื่อสาร มีความยืดหยุ่นเข้าใจเป้าหมายร่วมกัน (ไอ้พวกพูดและมองแต่ความมั่นคง เอามันไปตัดหัวทิ้ง เพราะมันจะมองแต่ความอยู่รอดปลอดภัยของพวกมัน ถ้ามีปัจจัยตัวแปรที่จะมาต้านทานต่อต้านบ่อนทำลายความอยู่ในสถานะของพวกมัน มันจะหาข้ออ้างเขียนกฎหมายออกมาต่อสู้อย่างศัตรูกันทันที )

5. ปฏิบัติการเชิงรุก

รุกอย่างไร  กล่าวคือ ต้องมุ่งมั่นเสมอว่าต้อง “รู้เขา รู้เรา”  โดยมีขั้นตอน 4 ขั้นตอน คือ

5.1 ต้องรุกเข้าไปรับรู้-เข้าใจให้กระจ่างชัด อย่านิ่งรับข้อมูลหรือผลกระทบ

5.2 ต้องระดมทางเลือกในการป้องกัน-แก้ไข รุกเข้าไปหาปัญหาที่พบตามข้อ 5.1

5.3 ประเมินการรุกอย่างมีคุณค่า สมเหตุสมผล ความจำเป็นเร่งด่วน ความเป็นไปได้ ผลดีผลเสีย จังหวะเวลา

xxxxxxxxxxxxxxxx