การอภิบาลสังคมด้านภัยพิบัติหรือมาตรการในการให้ความคุ้มครองแก่่ผู้ประสบภัยพิบัติหรือผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ต้องประกอบด้วยชั้น (layers) ของการอภิบาล 3 ชั้น ที่จะต้องพิจารณาและบริหารจัดการให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ คือ
1. ชั้นระบบความร่วมมือ มุ่งเน้นการดำเนินงานให้มีการปรับเปลี่ยน 2 ด้าน คือ
ด้านที่หนึ่งปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานของหน่วยงานราชการจากเดิมไปสู่การดำเนินงานที่เปิดช่องทางให้เกิดการให้บริการที่จำเป็นหรือทุกอย่างเท่าที่สามารถจะดำเนินการได้โดยสะดวก ราบรื่นและรวดเร็ว ปรับกลไกการคุ้มครองที่มุ่งหวังประโยชน์แก่ผู้ประสบภัยพิบัติที่มีความต้องการที่ซับซ้อนและหลากหลาย และไม่เพียงว่าสถานการณ์ภัยพิบัตินั้นผ่านไปแล้วหรือยัง แต่ในวงกว้างขึ้นไปอีกว่าพื้นที่กลับมีความปลอดภัยและเสถียรภาพที่เพียงพอ ของสิทธิมนุษยชน
ด้านที่สอง การสอดส่องดูแลการบริหารงานขององค์กรภาครัฐให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล ร่วมกันพัฒนาฐานข้อมูลและเครือข่าย เพื่อวิเคราะห์และสอดส่องแนวโน้มของปัญหา อันเป็นการกระทำที่จำเป็นอย่างยิ่งอย่างหนึ่งของผู้ประสบภัยพิบัติ ต้องเห็นความสำคัญที่จะต้องดำเนินการ มิฉะนั้น ประชาชนผู้ประสบภัยพิบัติก็จะถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐ หรือการต่อสู่กับภัยพิบัติเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ
ดังเช่น ในช่วงต้นปี 2563 ประเทศไทยต้องต่อสู้กับการระบาดของไวรัส Covid 19 ขาดพลังในการร่วมพัฒนาฐานข้อมูลและพัฒนาเครือข่ายภาคประชาชน อีกทั้งถูกลดทอนการมีส่วนร่วมด้วยกฏหมายที่ควบคุมประชาชนอย่างเบาปัญญาจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐ
2.ชั้นระบบข้อมูลที่ดี จะต้องคำนึงถึงลักษณะที่ซับซ้อนของความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งและภัยพิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความพยายามใด ๆ ในการระบุผู้ที่สมควรได้รับความคุ้มครองดังกล่าว เช่น ความยากจน ความบกพร่อง(ช่องโหว่)ของการให้บริการภาครัฐ การขาดการสนับสนุนทางสังคม เป็นต้น
2.1 ผู้ให้ข้อมูล รักษา ปรับปรุงข้อมูลของตนเองให้ปรากฏเป็นปัจจุบันแก่หน่วยงานภาครัฐ และสอดส่อง เรียกร้องให้ใช้ในอนาคตเพื่อลดความรุนแรงจากความเหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรม ไม่ยั่งยืน
2.2 ผู้บันทึกข้อมูล สมบูรณ์ ครบถ้วน รอบด้าน เพื่อให้เพียงพอต่อแจงแจงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน ในปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐแต่ละส่วนจะเก็บเฉพาะข้อมูลปฐมภูมิ ซึ่งการใช้งานที่ตอบสนองในการลดผลกระทบจากภัยพิบัติได้จะต้องมีการเชื่อมต่อบูรณาการข้อมูลจากหลายๆ หน่วยงาน
2.3 ผู้บริหารระบบข้อมูล นำข้อมูลมาใช้อย่างมีธรรมาภิบาลเพื่อลดความขัดแย้งอันจะก่อให้เกิดผลลัพธ์ในทางที่ไม่พึงประสงค์
3.ชั้นตรรกะ ซึ้งเป็นชั้นที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการปรับชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ให้มีส่งเสริมกันไปสู่จุดมุ่งหมายที่มีมนุษยธรรมขั้นพื้นฐานอย่างยั่งยืน
3.1 ตรรกะของผู้ร่วมการอภิบาล จะต้องอยู่ภายใต้กรอบปรับตัวรักษาเสถียรภาพทีั้งภายในและภายนอกตนเอง ไม่เดินสู่อนาคตที่มีแต่ความรุนแรงจากความเหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรม ไม่ยั่งยืน
3.2 ตรรกะของผู้กำหนดเกณฑ์การอภิบาล จะต้องอยู่ภายใต้กรอบความรู้เท่าทันและแจ่มแจ้งกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นและไม่ตรงกับความคาดหวังหรือสิ่งที่ควรจะเป็น ที่สำแต่อุปสรรคสำคัญในหลายกรณีคือถึงแม้ผู้กำหนดกฏเกณฑ์เป็นผู้ที่เป็นเผด็จการ เป็นข้าราชการยุคศักดินา จะไม่มีตรรกะที่นำสู่จุดมุ่งหมายที่มีมนุษยธรรมขั้นพื้นฐานอย่างยั่งยืน Big Picture และ Framework เป็นไปเพื่อภาพลักษณ์และอำนาจของตนเองเป็นส่วนใหญ่
———————–//////////////—————————-