วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

จากกรณีที่ไทยเผชิญกับการระบาดลุกลามของไวรัสโคโรน่า จนต้องมีการปิดกิจกรรมของมนุษย์ในหลายๆ กิจกรรม ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจมหาศาล มีการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในหลายๆ ประเด็น  การดำเนินการของรัฐ เป็นการแก้ไขปัญหาแบบรายวัน คิดมาตรการตามมีตามเกิด (ไร้แนวคิดมาตรการที่ครอบคลุมรอบด้าน) ดังนั้น พอสรุปบทเรียนการดำเนินมาตรการต่างๆ ได้ดังนี้

1.ทั้งๆ ที่เป็นปัญหาที่ซับซ้อนกลับถูกลดทอนให้เหลือมุมมองด้านใดด้านเดียว คือด้านการการแพทย์สาธารณสุข  ทำให้ช่วงสำคัญที่อยู่ในระยะแรกก่อผลกระทบในหลายๆ ประเด็นตามมา ทั้งๆ ที่การบริหารจัดการสาธารณภัยต้องการมุมมองข้ามวิชาชีพ

2.ขอบเขตเป้าหมายการตรวจคัดกรองแบบสักแต่ทำ ไม่เน้นปูพรมตรวจในพื้นที่ระบาดรุนแรง หรือกลุ่มคนที่เดินทางเข้าประเทศ สถานพยาบาลเน้นการตรวจตามกลุ่มที่มีผลการสอบสวนชี้เฉพาะ ปล่อยคนในพื้นที่ระบาดรุนแรงออกนอกพื้นที่โดยมีการใช้กำลังไปตั้งจุดคัดกรองบนท้องถนนทั่วประเทศ โดยที่เครื่องมือการตรวจสอบก็ไม่พร้อมไม่เพียงพอ

3.จากการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่คลุมเครือและล่าช้า ช่วยเหลือไม่ตรงเป้าตรงประเด็น ไม่ทั่วถึงเพียงพอ (แบบกล้าๆ กลัว และไม่รู้ความต้องการจำเป็นมาตรการ) ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางสังคมจากกระบวนการรับมือจะยังคงอยู่อีกยาวนาน ประมาณ 15 ปี ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกถูกทอดทิ้ง ถูกละเลยหรือเพิกเฉยจากนโยบาย ความเครียดจากการตกงาน รายได้ลดลง หรือแม้กระทั่ง พวกแพทย์พยาบาลที่เขารู้สึกว่าถูกปล่อยให้ขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ ต้องเสี่ยงภัยกับโรค

4. ขาดการเตรียมพร้อมรับมือ ทั้งด้านองค์ความรู้ การสื่อสาร การบูรณาการปฏิบัติ โครงสร้างพื้นฐานทางสังคมต่างๆ ไม่มีความพร้อมที่จะรับมือ ทั้งนี้ กรณีการระบาดของโรคสิ่งสำคัญที่จะต้องเตรียมพร้อมคือการแสดงออกถึงด้านสว่างของมนุษย์เชื้อเชิญให้เขาแสดงออกในด้านที่ดีงามของความเป็นมนุษย์ อันจะทำให้ฝ่าฝันได้อย่างง่ายดาย เราจะไม่เห็นการหายไปของหน้ากากอนามัย การขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ การระมัดระวังตัวไม่ให้ตนเองแพร่เชื้อใหคนอื่น

จากที่กล่าวข้างต้น จึงจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องปรับปรุงจัดระบบการบริหารจัดการใหม่ ดังแนวทางการจัดระบบการบริหารจัดการตามลิงค์นี้ http://www.msjo.net/categoryblog/524-covid-19.html

{#emotions_dlg.cool}