วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย ยังตั้งอยู่บนฐานแนวคิดของระบาดวิทยาแบบเก่าที่ปัจจุบันล้าสมัยไปแล้ว

ระบาดวิทยาแบบเก่า ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ข้อมูล โดยคำนวณทางสถิติเพื่อแสดงภาพของตัวแทน (Representation) ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเหตุและผล ตลอดจนระดับความรุนแรงของปัญหา      อันเป็นผลผลิตขององค์ความรู้ที่ตกค้างมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 18-19

ผลการวิเคราะห์ที่นำเสนอต่อสังคม มากมาย เช่น

1.อัตราการเสียชีวิตต่อแสนประชากร

2.ดัชนีความรุนแรงอุบัติเหตุทางถนน

3.ดัชนีการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน

4.ประเภทถนนที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด

5.จุดที่เกิดเหตุ ทางตรงทางโค้งที่เกิดอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุด

6.อื่น ๆ

แนวคิดระบาดวิทยาทางวัฒนธรรม เป็นแนวคิดระบาดวิทยาแนวทางใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นความเสี่ยงสุขภาพที่สำคัญ มิติทางวัฒนธรรมจะทำให้เข้าใจพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนที่ไม่พึงประสงค์ ทำให้สามารถลด ควบคุม หรือป้องกันปัจจัยเสี่ยงทางวัฒนธรรมที่จะนำมาสู่ความเสี่ยงด้านการเกิดอุบัติเหตุทางถนน โดยระบาดวิทยาวัฒนธรรมให้ความสำคัญกับองค์ประกอบ 2 ประการ คือ

1.บุคคล จะวิเคราะห์ปัจจัยด้านลักษณะทางสังคมประชากรที่เป็นปัจจัยกำหนดพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนน เช่น  ค่านิยม ความเชื่อ ชาติพันธ์ และการให้คุณค่ากับสิ่งหนึ่งๆ

2.สถานที่หรือพื้นที่ โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ

2.1 พื้นที่ทางกายภาพ ซึ่งการแก้ไขปัญหาดำเนินการผ่านนโยบายและระบบบริการเชิงพื้นที่ เช่น ภาค จังหวัด อำเภอ ตำบล  การดำเนินการแก้ไขลักษณะนี้ทำให้มองเห็นช่องว่างของการดำเนินการว่าแต่ละพื้นที่มีภูมิปัญญาท้องถิ่น การคัดสรรและถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง

2.2 พื้นที่ทางวัฒนธรรมที่เปิดเผย ประกอบด้วยอาณาจักรที่มีโครงสร้างและหน้าที่ ซึ่งถูกกำหนดขึ้นตามความเชื่อ วิถีชีวิต กฎหมาย บรรทัดฐานทางสังคมและค่านิยมในสังคม

2.3 พื้นที่ทางวัฒนธรรมที่ไม่เปิดเผย เช่น การจ่ายใต้โต๊ะ  การขูดรีด กิจกรรมเสี่ยงเฉพาะกลุ่ม(การจับกลุ่มแข่งรถซิ่ง การขว้างหินใส่่ยานพาหนะ  การขึงลวดทำอันตรายคนขับขี่)

การขับเคลื่อนแนวคิดระบาดวิทยาทางวัฒนธรรม ที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน เช่น

1.วัฒนธรรมองค์กรด้านความปลอดภัยทางถนน  แต่ก็ยังเป็นเพียงการกำหนดกรอบพฤติกรรมเท่านั้น ยังไม่ได้มีการลงโทษทางสังคมหรือองค์กร

2.มาตรการด่านชุมชน / มาตรการด่านครอบครัว แต่ก็ยังขาดเทคนิควิธีการ/แนวปฏิบัติในการสนับสนุนมาตรการให้สัมฤทธิผล