การแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในปัจจุบันของประเทศไทย มีรากฐานมาจากการพิจารณาและศึกษาวิจัยเฉพาะข้อมูลของกลุ่มคนที่กำหนดให้เป็น “ตัวปัญหา” หรือเห็นว่าเป็น “ต้นเหตุ” ทั้งๆ ที่พวกเขาเหล่านั้นอยู่ในช่วง “ปลายเหตุ” ของวัฏจักรอุบัติเหตุทางถนน
ในปีหนึ่งๆ ประชาชนต้องสูญเสียโอกาสจากเงินภาษี ที่แทนที่จะถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านอื่นที่มีความต้องการจำเป็น กลับต้องมาสูญเปล่ากับการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐยุคไดโนเสาร์ ปีละ 200 ล้านบาท เพื่อเก็บข้อมูลทางระบาดวิทยาการแพทย์เบื้องต้นและวิศวกรรมพื้นฐาน เท่านั้น อย่างเช่น
-อายุเท่าไหร่ กลุ่มอายุที่เกิดอุบัติเหตุ ชายหรือหญิง
-กลุ่มอาชีพ มีใบขับขี่ไม่มีใบขับขี่
-ประเภทถนน ทางตรงทางโค้ง จุดร่วมจุดแยก มีแสงสว่างไม่มีแสงสว่าง
-ประเภทรถยนต์ มีประกันภัยไม่ประกันภัย เลขทะเบียน
ซึ่งการพยายามลดจำนวนการบาดเจ็บและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ไม่สามารถสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพหากมุ่งเน้นเฉพาะสาขาวิชาข้างต้น เนื่องจากสาขาวิชาที่มีอิทธิพลต่อการบรรลุผลสำเร็จตามนโยบายแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน เป็นไปตามผลการวิจัย ดังนี้
1. ระบาดวิทยาการแพทย์ ร้อยละ 15
2.วิศวกรรมพื้นฐาน ร้อยละ 15
3.ระบาดวิทยาสังคม ร้อยละ 30 (ตัวกำหนดสุขภาพเชิงสังคมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ /ปรากฎการณ์ทางสังคม ซึ่งมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคม ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ความเป็นธรรมทางสุขภาพและการมีสุขภาพที่ดี ขึ้นกับลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจสังคมและการเมือง ผ่านตัวกำหนดระหว่างกลางทั้งทางด้านสภาพแวดล้อม พฤติกรรม ชีววิทยา จิตสังคม หรือระบบการดูแลสุขภาพ)
4.เศรษฐศาสตร์การเมือง ร้อยละ 40 (การแก้ไขทางเศรษฐศาสตร์การเมืองเบื้องต้น ก็คือ ประชาชนชี้หน้ากลับไปยังข้าราชการที่จ่ายภาษีเลี้ยงดูกลับมีวัฒนธรรมการทำงานประชาชนโง่เราจะตายกันหมด ว่าปฏิบัติงานด้วยด้วยมุมมองที่โง่เขลาไร้ปัญญาแก้ไขปัญหาสิ้นเปลืองเป็นภาระจ่ายเงินเดือนให้ไปกินไปใช้จ่ายอย่างสุขสบาย ฯลฯ )
——————–//////////////——————–