วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ปัจจัยหายนะจากภัยพิบัติที่พรรคราชการไม่มีวันให้ประชาชนได้รับรู้ เพราว่าจะทำให้พวกเราขาดศักยภาพในการกำหนดลักษณะความสัมพันธ์ พวกเราจะกลายเป็นผู้รับใช้ประชาชนแทนที่จะเป็นนายเหมือนดั่งเช่นทุกวันนี้

โดยในด้านภัยพิบัติ จะเริมต้นจากทัศนคติของปัจเจกบุคลสู่วัฒนธรรมแห่งชาติร่วมกัน จากการศึกษาปัจจัยทางด้านสังคมที่ทำให้เกิดภัยพิบัติในอนาคต ที่หน่วยงานภาครัฐ (คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ(กปภ.ช.)/บริษัท ปภ.จำกัด)ปกปิดไม่ได้นำความจริงมาสร้างการรับรู้สร้างความเข้าใจกับประชาชนในชาติ เพื่อนำงบประมาณจากภาษีมาชงโครงการงาบหัวคิวงาบเปอร์เซ็นต์ หรือสร้างอัตราตำแหน่งที่อ้างว่าเป็นงานที่ยุ่งยากซับซ้อน ต้องใช้คนลักษณะพิเศษที่เงินเดือนค่าตอบแทนมากเป็นพิเศษตำแหน่งระดับสูงในการปฏิบัติงาน ต้องใช้เครื่องมือเครื่องไม้ที่หลากหลายทันสมัย หรือสร้างอาณาจักรที่ไร้ความรับผิดชอบต่อประชาชนขึ้นเพื่ออำนาจในการจัดการงบประมาณที่มหาศาลขึ้น

จากการศึกษาจากประชากร 450 คนในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ในชระหว่าง มีนาคม – กันยายน 2563 พบว่าปัจจัยที่ภาครัฐ(คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ(กปภ.ช.)/บริษัท ปภ.จำกัด)ปกปิดหรือไม่ยอมให้ประชาชนได้รู้แจ้ง ประชาชนได้รับรู้และตระหนัก อันจะนำสู่สังคมนิรภัยอย่างยั่งยืนสืบไปนั้น มีดังตารางผลการศึกษาต่อไปนี้

ปัจจัย

MEAN

MEDIAN

ลำดับความสำคัญ

ไม่ตระหนักรู้ว่าตนหรือประเทศของตนอยู่ในภาวะวิกฤต

3.89

3

1

ไม่ยอมรับว่าเป็นภาระรับผิดชอบของตนเองหริอของประเทศที่ต้องลงมือทำอย่างใดอย่างหนึ่ง

3.68

3

2

ไม่ทราบขอบเขตปัญหาของตนหรือของประเทศที่จำเป็นต้องแก้ไข

3.42

3

3

ไม่มีความซื่อตรงในการประเมินตนเอง ประเมินจุดอ่อนจุดแข็ง

3.09

3

4

ขาดการเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ภัยพิบัติที่ผ่านมา

2.83

3

5

ไม่เป็นอิสระจากข้อจำกัดทางภูมิรัฐศาสตร์

2.64

3

6

ระดับนัยสำคัญที่ 0.5

——–