วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

 

จากนิยามของจิตสำนึก ที่หมายถึง ภาวะที่จิตตื่น และรู้ตัว สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ได้  และฉุกเฉิน หมายถึง ภาวะที่จะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนทันทีทันใด ดังนั้น จิตสำนึกฉุกเฉิน จึงหมายถึง การตระหนักรู้แนวทางการตอบสนองต่อภาวะเร่งด่วน

ในภาวะเร่งด่วน สามารถแยกได้ 2 ภาวะ คือ ส่วนตัว และสังคม  ทั้ง 2 ส่วนสัมพันธ์กันในบางส่วน และทั้ง 2 ส่วนมีจิตสำนึกฉุกเฉินที่ตอบสนองทั้งเป็นแนวทางส่วนตนและแนวทางร่วมของสังคม  บางครั้งการตอบสนองต้องเสียสละส่วนตนเพื่อส่วนรวม แต่หลักการจะต้องไม่สละส่วนรวมเพื่อส่วนตนนะครับ  ความจริงมีเยอะแยะครับ โดยเฉพาะพวกที่อาสาเข้ามาทำงานเพื่อส่วนรวมนี่แหละตัวดีนัก ขาดจิตสำนึกฉุกเฉินแบบฉิบหายกันทั้งสังคม ฉิบหายเฉพาะตนยังพอจะอดกลั้นต่อพฤติกรรมได้  ประชาชนก็มีให้เห็นกันเยอะ แต่ยุคปัจจุบันมีสื่อทางสังคมที่มีประสิทธิภาพ ทุกคนเป็นผู้สื่อข่าวได้ ก็พอจะปรามๆ ให้จิตสำนึกฉุกเฉินทำงานขึ้นมาบ้าง ให้ฉุกคิดขึ้นมาบ้าง

———–//////////—————-