วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ในประเทศทวีปยุโรปและทวีปอเมริกากลาง หากมีสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง เขาจะมีการเตรียมพร้อมอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ เนื่องจากอิทธิพลมาจากการคิดเพื่อตนเอง สงสัยในอำนาจของระบบ และเรียนรู้ที่นำตัวเองไปสู่ภาวะที่ให้ความรู้แก่ตัวเอง

การยกระดับการรับรู้ที่หลากหลายให้กับตนเอง  การเป็นผู้เลือกและเปลี่ยนแปลงให้สอดประสาน ละวางไม่ผูกมัดตนเองกับสิ่งที่ไม่สมัครใจและไม่รู้สึกด้วย อาจเป็นสมรรถนะที่เพ้อฝันของสังคมนิรภัย แต่อย่างน้อย แนวคิดเหล่านี้ ก็เคยถูกสถาปนาให้มีบทบาทในสังคมมนุษย์นับหลายศตวรรษมาแล้วในอดีต

ชิฟแมน และคานุก(Schiffman & Kanuk, 2000: 146) กล่าวว่าการรับรู้คือกระบวนการที่บุคคลแต่ละคนมีการเลือกการประมวลผลและการตีความเกี่ยวกับตัวกระตุุ้น ออกมา ให้ความหมายและได้ภาพของโลกที่มีเน้ือหา

กระบวนการเลือกประมวลผลนั้น ขึ้นกับปัจจัยสิ่งเร้าที่มากระทบ สิ่งเร้าอย่างเดียวกันอาจจะทำให้คนสองคนสามารถรับรู้ต่างกันได้ ขึ้นกับปัจจัยเหล่านี้

1. อิทธิพลที่มาจากภายนอกไดแ้ก่ความเขม้และขนาดของสิ่งเร้า (Intensively and Size)การกระทำ ซ้า ๆ (Repetition) สิ่งที่ตรงกันข้าม (Contrast) การเคลื่อนไหว(Movement)

2.อิทธิพลที่มาจากภายใน ได้แ้ก่แรงจูงใจ(Motive) การคาดหวัง (Expectancy) ความสนใจอารมณ์ ความคิดและจิตนาการ

สังคมไทยเป็นสังคมที่ขาดการเตรียมพร้อม ทั้งนี้เนื่องมาจากผู้ที่อยู่กับปัจจัยสิ่งเร้าที่มากระทบให้เกิดการประมวลผลตีความว่ามีความเสี่ยง ไม่สามารถที่จะเป็นผู้เลือกและเปลี่ยนแปลงให้สอดประสาน หรือไม่สามารถยกระดับการรับรู้ของตนเองได้ คนที่กำหนดหรือมีอิทธิพลต่อความสามารถดังกล่าว กลับมีวิถีชีวิตอยู่ห่างไกลกับปัจจัยสิ่งเร้าที่มากระทบ  ซึ่งทำให้การประมวลผลตีความห่างไกลจากกลุ่มคนในพื้นที่เสี่ยงกับปัจจัยเสี่ยง

แม้กระทั่ง การเก็บรวบรวมข้อมูล ก็มีระบบประมวลผลข้อมูลเพื่อให้การรับรู้และตัดสินใจของผู้ที่ห่างไกลจากพื้นที่เสี่่ยง กระบวนการลักษณะนี้ จึงทำให้พื้นที่เสี่ยงขาดการเตรียมพร้อมเพียงพอที่รับมือกับสถานการณ์ได้