วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ความพร้อมพอเชิงระบบต่อนานาภัย ประกอบด้วย หลัก 3 จังหวะ  5 กรอบ 7 ประเด็น

1. หลักการ 5 กรอบ

กรอบเฮียวโกะ ได้กำหนดแนวทางและสิ่งที่ต้องปฏิบัติตามลำดับความสำคัญ และวิธีการเชิงปฏิบัติเพื่อให้ชุมชนที่อยู่ในภาวะล่อแหลม สามารถอยู่อย่างปลอดภัยจากภัยพิบัติได้เป็นผลสำเร็จ ประกอบด้วย

1.1 ให้ความสำคัญกับการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติเป็นลำดับแรก

แต่ในปัจจุบัน คิดว่าเรากำลังเพิ่มความปราะบางให้กับสังคมไทย จากการดำเนินการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติของหน่วยงานองค์กรต่างๆ  ของไทย

1.2 รู้ถึงความเสี่ยงและดำเนินการ

เราอยู่ในความไม่กระจ่างชัดต่อความเสี่ยงเท่าใดนัก  ดังนั้น เมื่อไม่กระจ่างชัดจึงไม่มีการรวมพลังสังคมกันลดความเสี่ยงที่แท้จริง  ประชาชนก็โดนหน่วยงานรัฐ/องค์กรหลอกใช้เงินงบประมาณเพื่อผลประโยชน์ที่ไม่ใช่ของประชาชน อ่านงบประมาณร้อยละ 15 จะทำการพัฒนาคนของหน่วยงานรัฐพัฒนาองค์กรเป็นผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (นึกไม่ถึงว่าด้านหนากันขนาดมั่นใจในผนังทองแดงกำแพงเหล็กกันขนาดนั้น

1.3 สร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนัก

1.4 ลดความเสี่ยง

1.5 เตรียมความพร้อมและพร้อมที่จะดำเนินการ

2. หลักการ 3 จังหวะ ใน 7 ประเด็น

2.1 ก่อนเกิดภัย

1) ประเด็นที่ 1 ความทรงจำและตื่นตัวรับรู้เรื่องภัยพิบัติ

2) ประเด็นที่ 2 ลดระดับความรุนแรงและความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นหากมีภัย

3) ประเด็นที่ 3 พร้อมเผชิญ และอพยพอย่างปลอดภัย

2.2 ระหว่างเกิดเหตุ

1) ประเด็นที่ 4 ปฏิบัติการพิเศษ ระงับ ตอบโต้ เก็บกู้ในภาวะฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพ

2) ประเด็นที่ 5 ปฏิบัติการทางการแพทย์ ช่วยชีวิต ดูแลรักษาในขณะที่เกิดภัย

2.3 หลังเกิดเหตุ

1) ประเด็นที่ 6 บรรเทาทุกข์และช่วยเหลือหลังภัยพิบัติ

2) ประเด็นที่ 7 ฟื้นฟูหลังภัยพิบัติ

สรุปสถานการณ์ความพร้อมพอเชิงระบบต่อนานาภัยของไทยเรานั้น แทบจะตามไม่ทันต่อปริมาณความเสี่ยงภัยพิบัติที่เกิดขึ้น ซึ่งเราพอจะเห็นร่องรอยของความไม่พร้อมพอของเราได้จากหลักการ 3 จังหวะ 7 ประเด็นที่กล่าวมาข้างต้น

———————-///////////———————–