วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

มุมมองสาธารณภัยในประเภทไทย มีกรอบการมองตามคํานิยามที่กําหนดในพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/501032 ได้ระบุคํานิยามของ “สาธารณภัย” ไว้ในมาตรา 4 ว่า “สาธารณภัย หมายถึง อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง โรคระบาดในมนุษย์โรคระบาดสัตว์โรคระบาดสัตว์น้ํา การระบาดของศัตรูพืช ตลอดจนภัยอื่นๆ อันมีผลกระทบต่อสาธารณชน ไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติมีผู้ทําให้เกิดขึ้น อุบัติเหตุ หรือเหตุอื่นใด ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชนหรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ และให้หมายความรวมถึงภัยทางอากาศ และการก่อวินาศกรรมด้วย  สำหรับแนวคิดในการจัดการสาธารณภัย พอสรุปได้ดังนี้

แนวคิดการจัดการสาธารณภัย

  1. การลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย (Disaster Risk Reduction หรือ DRR) ประกอบด้วย

การดำเนินตามกรอบการดําเนินงาน เฮียวโกะ (Hyogo Framework for Action : HFA) ระยะเวลาดําเนินการ 10 ปีพ.ศ. 2548-2558 โดยวางยุทธศาสตร์ ปฏิบัติ 5 ประเด็น ประกอบด้วยการให้ความสําคัญกับลการลดภัย รู้จักความเสี่ยงและการดําเนินการ สร้างความรู้ความเข้าใจและจิตสํานึก ลดความเสี่ยง และเตรียมตัว และพร้อมที่จะปฏิบัติเมื่อมีภัยสู่การดำเนินการตามกรอบเซนได ระยะ 15 ปี (2559 – 2584) โดยมุ่งเน้นแนวทางปฏิบัติ: จากเดิมที่เคยบอกว่าควรต้องทําอะไร (WHAT) à ควรทําอย่างไร (HOW)  มามุ่งเน้นในการเสริมสร้างโครงสร้างการบริหารจัดการที่ดีขึ้น เน้นเชิงยุทธศาสตร์เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (DRR strategies) และการสร้างความร่วมมือในรูปแบบต่าง ๆให้บรรลุเป้าหมาย 7 ประการ (3 เพิ่ม 4 ลด)

3 เพิ่ม:

      • แผนยุทธศาสตร์การลดความเสี่ยงในระดับชาติและระดับท้องถิ่น
      • การสร้างความร่วมมือสําหรับประเทศที่กําลังพัฒนา
      • การเข้าถึงข้อมูล การแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า และข้อมูลความเสี่ยง

4 ลด:

      • อัตราการเสียชีวิต
      • จํานวนผู้ได้รับผลกระทบ
      • ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ
      • ความเสียหายต่อสาธารณูโภค สาธารณูปการ และบริการพื้นฐาน
  1. การดำเนินนโยบาย 2P2R ประกอบด้วย

2.1 การเตรียมพร้อม (Preparation) การเตรียมปัจจัยในการทํางาน 4M ได้แก่ บุคลากร(Man) งบประมาณ (Money) เครื่องมืออุปกรณ์อาคารสถานที่ยานพาหนะ (Material) และการบริหารจัดการ(Management)

2.2 การป้องกัน (Prevention) เป็นกระบวนการคาดการณ์ล่วงหน้าทั้งระดับเลวร้ายที่สุด (Worst case scenario) จนถึงเบาบางที่สุด จากนั้นจะต้องเข้าสู่กระบวนการซ้อมทุกระดับ ทั้งการซ้อมแบบประชุมชี้แจง แบบวางแผนบนโต๊ะ (Tebel Top Exercise) แบบกําหนดหน้าที่ (Functional Exercise) หรือแบบเต็มรูปแบบ (Full Scale Exercise)

2.3 การตอบสนองในภาวะวิกฤต (Response) จะต้องดําเนินการยึดหลักระงับ ควบคุม และกํากัดอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดความเสียหายหรือสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินให้น้อยที่สุด

2.4 การฟื้นฟู(Recoverey) หลังเกิดภาวะวิกฤตเพื่อปรับสภาพระบบสาธารณูปโภค การดํารงชีวิต และสภาวะวิถีความเป็ นอยูของชุมชนที่ประสบภัย ่ให้กลับสู่สภาวะปกติ หรือพัฒนาให้ดีกว่าและปลอดภัยกว่าเดิม (Build Back Better and Safer)

Search