การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่ไม่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี 2545 ประเทศไทยได้ตราอำนาจการจัดการภัยพิบัติขึ้นใหม่ โดยจัดตั้งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นหน่วยงานกลางขึ้น พร้อมทั้งจัดโครงสร้างหน่วยงานรัฐในการดำเนินงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยโดยตราพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 ขึ้นกำกับองค์กรให้มีโครงสร้างอำนาจหน้าที่ และในแต่ละห้วงเวลาก็จัดทำแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติขึ้นเพื่อกำกับรวบรวมการปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง (เท่านั้นเพราะไม่ค่อยชี้แนวทางใหม่ๆ ของแผนฯ มากนัก ไม่พอที่จะเป็นเครื่องมือในการบรรลุสู่ความนิรภัยได้)
แต่นับตั้งแต่ก่อตั้ง ผลสัมฤทธิ์ที่ประชาชนชาวไทยได้รับมันช่างแตกต่างราวฟ้ากับเหวกับการเจริญเติบโตขององค์กร จากงบประมาณเพียงปีละ 200 กว่าล้าน มาเป็นปีละ 6,000-7,000 ล้านบาทต่อปี หน่วยงานในสังกัดแรกเริ่ม 20 กว่าหน่วย ขยายมาเป็น 160 กว่าหน่วยงาน จำนวนอัตรากำลังเจ้าหน้าที่จาก 200 กว่าคน เพิ่มขึ้นเป็น 2,000 กว่าคน พร้อมกับระดับตำแหน่งที่สูงระดับต้นๆ ของประเทศ (มีระดับเทียบเท่าซี 9 เดิม เกือบจะ 120 กว่าตำแหน่ง)
ผลจากการที่ประชาชนเจ้าของประเทศได้รับจากการมีโครงสร้างองค์กรเฉพาะด้านการจัดการภัยพิบัติขึ้น กลับดูจะไม่สมเหตุสมผลนักที่ใช้จ่ายภาษีสนับสนุนมหาศาลแต่กลับต้องเผชิญกับหายนะ พิจารณาได้จาก 2 ประเด็นสำคัญ คือ
1.การลดความเปราะบาง
แนวทางการดำเนินงานหรือทิศทางองค์กรไม่ได้มุ่งเน้นการลดความเปราะบาง (ละเมออยู่ว่าแต่มุ่งลดความเสี่ยงภัยพิบัติมุ่งลดความเสี่ยงภัยพิบัติๆ ยกตัวอย่างเช่น ในชุมชนแห่งหนึ่งประเมินว่าเสี่ยงอัคคีภัยสูง ก็จะดำเนินการจัดซื้อรถดับเพลิงพร้อมคนมานั่งเฝ้าระงับอัคคีภัย แทนที่จะลดความเปราะบางที่จะเป็นการออกกฎหมาย กำหนดผังเมือง มีกองทุนต่างๆ ที่จะเพิ่มโอกาสและช่องทางที่จะพัฒนาที่อยู่อาศัยให้ดีขึ้น หรือพื้นที่นำ้ท่วมก็ไม่มีการวางแผนแก้ไขในระยะยาว คอยนั่งเก็บสถิติ เก็บพื้นที่ที่ท่วมไปอ้างซื้อรถซื้อเรือ จ้างเจ้าหน้าที่มาคอยนั่งเฝ้าในสถานที่อันโอ่อ่า ณ ที่หนึ่ง เป็นต้น)https://www.isranews.org/article/main-issue/92565-movingcarPurchase.html / http://www.opt-news.com/news/12954 และในบางกรณีกลับสร้างความเปราะบางให้กับสังคมให้กับพื้นที่ (ความเปราะบางเป็นเหตุให้มีสภาพความเสี่ยงภัยพิบัติขึ้น การดำเนินการลดความเปราะบางจะปฏิบัติขับเคลื่อนได้ดีและง่ายกว่าการลดความเสี่ยงภัยพิบัติเป็นอย่างมาก)
2.การบูรณาการสู่เป้าหมาย
แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติที่กำหนดขึ้นไม่เพียงพอที่จะเป็นพิมพ์เขียวเป็นกรอบหรือทิศทางระบบความปลอดภัยจากภัยพิบัติในอนาคต ที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องร่วมกัน และนำไปใช้ในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ หรือแผนปฏิบัติการในระดับต่างๆ ของหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้องได้ ต่างฝ่ายต่างฉวยโอกาสต่างลอยนวลต่อความรับผิดชอบต่อสังคม บริษัทป้องกันและบรรเทาสาธาณณภัยจำกัดเองก็ใช้งบประมาณร้อยละ 80 สำหรับซื้อแล้วก็ซื้อ (ของปัจเจกบุคคลของเอกชนเขาก็มีรถมีเรือที่จะใช้อย่างรวดเร็ว เช่น น้ำป่าไหลหลากรถราในพื้นที่โดนน้ำหลากมาท่วมเสียหายไปหมด ชาวบ้านเขาต้องการการป้องกันอย่างยั่งยืน การเฝ้าติดตามกลุ่มเมฆฝน และพื้นที่ที่กลุ่มฝนกำลังตกลงหนักเท่าไหร่ จะมีมวลนำ้เกิดขึ้นเท่าไหร่ และมวลนำ้จะไหลไปที่ไหน เพื่อมาแจ้งเตือนให้กับประชาชนทราบ นี่เป็นสิ่งที่ประชาชนต้องการ ไมใช่แจ้งให้ประชาชนเฝ้าระวังการประกาศแจ้งเตือนจากทางราชการ แล้วแจ้งเตือนอะไรแก้ไขสถานการณ์ได้ทันไหม) หน่วยงานอื่นก็ทำเพียงพิธีกรรมบนหน้ากระดาษ (กล่าวอ้างเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ หรือแม้กระทั่งการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแต่ก็ไม่สามารถหลอมรวมผลผลิตเหล่านั้นให้เป็นพลังสำคัญของสังคมในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เมื่อเวลาผ่านไป 2-3 ปีก็จะมลายหาญไป
ที่กล่าวมาข้างต้น พอที่จะกล่าวได้ว่า เป็นการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่ (ไม่)ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ป้องเข้าปากเข้าท้องไปวันๆ กระนั้นหรือ
——————xxxxxxxxxxxxxx—————-