การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่นั้นเพิ่งเริ่มต้นได้ไม่นานนัก คือราวกลางศตวรรษที่ 20 ซึ่งเขื่อนใหญ่กว่า 50,000 แห่งทั่วโลกนั้นถูกสร้างเพื่อวัตถุประสงค์ในการชลประทานเพื่อการเกษตร ตามมาด้วยการผลิตไฟฟ้า และการเก็บน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค และการปล่อยน้ำของเขื่อนเป็นปรากฎการณ์ที่สร้างทั้งผลประโยชน์และความหายนะ
ผลประโยชน์
1. พลังงานไฟฟ้าที่สะอาด
2. ระบบการชลประทานที่ดี
3.สถานที่ท่องเที่ยว
4.ความมั่งคั่งของเจ้าหน้าที่/อาณาจักรของภาครัฐที่ขยายใหญ่โต
หายนะ/ผลร้าย
1.ความแห้งแล้ง เนื่องจากปริมาณน้ำในสายน้ำและในลุ่มน้ำน้ำท้ายเขื่อนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อก่อนที่ยังไม่ได้สร้างเขื่อนก็ทำให้ผืนดิน ทำให้พืชพันธ์ุอยู่ในลักษณะที่ขาดแคลนน้ำ อันจะส่งผลให้เปลี่ยนแปลงภูมิประเทศไปเป็น (ยกเว้น หากอยู่ในพื้นที่ชลประทานของเขื่อนก็จะไม่แห้งแล้ง)
2.ความหลากหลายของพันธ์สัตว์น้ำจะลดลง เนื่องจากการตัดความต่อเนื่องของลำน้ำ ส่งผลให้ปลาไม่สามารถอพยพไปวางไข่และเข้าถึงแหล่งอาหารได้น้อยลง อีกทั้งการสร้างเขื่อนยังทำลายแห่งที่อยู่อาศัย ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อความหลากหลายทางชีวภาพที่คัดขาดระหว่างเหนือน้ำและท้ายน้ำ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อาหารตามธรรมชาติ ทั้งพื้นที่ตอนเหนือเขื่อนและพื้นที่ท้ายเขื่อน
3.ทำลายความยั่งยืน (วิถีชีวิตทั้งคนและสิ่งแวดล้อม)
ถ้าเรามุ่งมั่นมีศรัทธาต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability) การปล่อยน้ำของเขื่อนในปริมาณที่สมเหตุสมผล ซึ่งในปัจจุบันก็ปล่อยตามประโยชน์ทางเศรษฐกิจเฉพาะหน้าเป็นสำคัญ ไม่คำนึงถึงผลกระทบหรือประเมินชั่งน้ำหนักให้รอบคอบให้มีความสมเหตุสมผล เพื่อลดความสูญเสียของกลุ่มคน 3 กลุ่มที่ได้เสียสละให้เขื่อนมีพลวัตต่อไป ที่ต้องการการบริหารจัดการให้เกิดความสมดุล เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วสูญเสียมามากแล้ว กล่าวคือ
1.ผู้สูญเสียภาษีเพื่อนำมาสร้างเขื่อน
การคำนวณความคุ้มค่าทางการเงินและเศรษฐศาสตร์ไม่มีรอบด้าน ส่วนใหญ่หน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบมักจะมีรายงานประกอบความคุ้มค่าที่เกินจริง ความสูญเสีย ประเมินมูลค่าผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมไว้ต่ำเกินจริง การใช้ระเบียบวิธีเพื่อให้ผ่านมาตรฐาน ‘ขั้นต่ำ’ ทั้งๆที่รู้ว่าสิ่งเหล่านี้ย่อมไม่เพียงพอที่จะเป็นไปโดยไม่เกิดผลกระทบตามมา (หวังงาบ…ทุกขั้นตอน โดยกลุ่มความร่วมมืออย่างลับๆ ระหว่าง ที่ปรึกษา ผู้รับเหมา ผู้พัฒนาโครงการ ข้าราชการ ผู้ปล่อยเงินกู้ และนักการเมือง) โครงการเขื่อนส่วนใหญ่ผู้เสียภาษีอยู่ในภาวะขาดทุนในภาพรวม
2.ผู้ที่มีวิถีชีวิตอยู่เหนือเขื่อน
ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญน้อยมากต่อการสร้างระบบนิเวศใหม่ให้แก่ชาวบ้านที่ต้องหนีแยกย้ายแตกกันออกไปคนละพื้นที่ จากพื้นที่น้ำท่วมของเขื่อน ยิ่งถ้าไม่ยอมย้ายออก ยังขืนอยู่ที่เดิมก็จะไม่ได้รับการเหลียวแลใดๆ จากภาครัฐ https://thestandard.co/karen-tak-province/
3.ผู้ที่มีวิถีชีวิตอยู่ท้ายเขื่อน
การเปลี่ยนแปลงการไหลของน้ำภายหลังการก่อสร้างเขื่อนย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบนิเวศดั้งเดิม ดังนั้น จะต้องมีการสนับสนุนต่อการสร้างระบบนิเวศใหม่ให้เป็นที่ยอมรับว่าจะเกิดความยั่งยืนของผู้อยู่ท้ายเขื่อน
ถ้าสมเหตุสมผลทั้ง 3 ฝ่าย ก็คงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยมีเขื่อนเป็นพื้นฐานสำคัญหนึ่งที่รองรับความยั่งยืน (วิถีชีวิตทั้งคนและสิ่งแวดล้อม)
——————////////////////————————–