วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

เมื่อสถานการณ์ภัยพิบัติหรือสาธารณภัยผ่านพ้นไปแล้ว มีความจำเป็นที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องรีบดำเนินการอย่างบูรณาการ(มีเป้าหมายเดียวกัน ต่างคนต่างดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย)ในการชันสูตรความหายนะที่เกิดขึ้นและสรุปเป็นบทเรียน เพื่อใช้ประโยชน์ในอนาคตหรือในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

ซึ่่งหลักการในการดำเนินการชันสูตร (ASSESSMENT) นั้นจะต้องประกอบด้วย

1.ต้องค้นหาข้อเท็จจริงว่าเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านพ้นไปนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร/Need to find the facts that the events that have just passed it occurred? ดำเนินไปอย่างไร

2.การตัดสินใจในระดับต่างๆเป็นอย่างไร

2.1 ระดับนโยบายตั้งแต่กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ

2.2 ระดับจังหวัด(ศูนย์บัญชการเหตุการณ์จังหวัด/จังหวัด)

2.3 ระดับพื้นที่(ศูนย์ปฏิบัติการ อปท.)

3.มีการวิเคราะห์เชิงกายภาพ โครงสร้างพื้นฐาน (ถนนหนทาง  การใช้ประโยชน์ที่ดิน การตั้งถิ่นฐาน ฯลฯ)

4.มีการวิเคราะห์ภูมิทัศน์สังคมวัฒนธรรม

ข้อควรระวัง/ปัญหาอุปสรรคขัดขวางการชันสูตร ประกอบด้วย

1. หน่วยงานภาครัฐผูกขาดความถูกต้องในการทำงาน เป็นรัฐข้าราชการที่จมปลักและป้องกันตัวเองอย่างสุดชีวิต

2. ความแปลกแยกขององค์กรนอกภาครัฐ

3. ไม่ต้องการจะเปิดเผยประจานการไม่ทำหน้าที่หรือทำให้เกิดความเสียหายจากความบกพร่อง

4.ไม่ต้องการให้มีการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงเนื่องจากเหตุผลด้านผลประโยชน์บางประการ(แน่นอนว่าไม่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม)

 

——————————————————–