พื้นที่สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในสังคมไทย โดยในพื้นที่หนึ่งๆ การถ่ายทอดทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นได้ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงคือการจัดการศึกษา ทางอ้อมมีหลากหลาย เช่น การสร้างนิยามความหมายกลุ่ม การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม และการผลิตซ้ำอุดมการณ์ วัฒนธรรมและสังคม
1.พื้นที่สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในสังคมไทยทางตรง
แม้พื้นที่ที่ภาครัฐใช้สำหรับการจัดการศึกษาจะเป็นพื้นที่ที่คับแคบ เต็มไปด้วยการใช้อำนาจควบคุม จึงผลิตวัฒนธรรมภายใต้การสั่งการควบคุม ไร้เสรีภาพในทางความคิดอย่างสิ้นเชิง แต่เดิมอาจจะไม่เด่นชัด แต่ในยุครัฐบาลเผด็จการทหารที่ต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่สังคมที่ถูกควบคุมได้โดยง่ายของชนชั้นนำ ได้ผลิตหลักสูตร ค่านิยม 12 ประการขึ้นมาตอกย้ำแนวคิดและอุดมการณ์
จึงหวังไม่ได้เลยกับการจัดการศึกษาที่จะผลิตวัฒนธรรมความปลอดภัย (มีการผลิตกิจกรรมลวงโลกเพื่อใช้งบประมาณขึ้นมากมาย ขับเคลื่อนอย่างไร้ไร้เสรีภาพ กดทับศักยภาพของผู้รับการศึกษา)
2.พื้นที่สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในสังคมไทยทางอ้อม
พื้นที่ในสังคมที่กว้างใหญ่มหาศาลในสังคม คือพื้นที่ทางดิจิตอล พื้นที่นี้ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงด้านความปลอดภัยให้เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน เช่น วัฒนธรรมบนท้องถนน วัฒนธรรมการกิน วัฒนธรรมความสวยความงาม วัฒนธรรมการท่องเที่ยว
การสร้า่งพื้นที่ด้านความปลอดภัย ภาครัฐได้ระบุ กำหนดบทบาท หน้าที่ที่เฉพาะเจาะจงตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ แต่ก็เป็นไปอย่างหลวมๆ และไร้การขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรม ไม่ได้นำมาซึ่งความรู้ที่แท้จริงที่เกิดจากการสังเกตุ โดยอาศัยประสบการณ์ตนเองในพื้นที่ ภาครัฐก็มีปัญญาทำได้เพียงขี่ช้างจับตั๊กแตน การอันใดที่จะพิสูจน์ทฤษฎี ที่จะต้องระบุหรือทำนายในสิ่งที่สังเกตุได้ และชี้ชัดลงไปว่าสอดคล้องหรือขัดแย้งกับหลักฐานที่สังเกตุเห็น ภาครัฐของไทยคงไม่เห็นความสำคัญ หรือถึงเห็นก็คงไร้ความสามารถที่จะทำได้
ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การปล่อยให้พื้นที่มีความเสี่ยงหายนะ ก็จะเป็นบ่อเกิดแห่งผลประโยชน์อันมิควรได้
——————-ขขขขขขขข————