ในภาวะภัยแล้ง เราสามารถที่จะพยากรณ์ความเดือดร้อนของประชาชนที่อาจจะเกิดขึ้นจากภัยแล้ง ได้ ๒ ด้าน ดังนี้
๑. ความสามารถในการมีแหล่งรายได้นอกภาคการเกษตรสำหรับการดำเนินชีวิต
ซึ่งคำนวณจากสัดส่วนของมูลค่าการบริโภคโดยรวมของครอบครัวรวมกับต้นทุนการผลิตรวมต่อมูลค่าการออมทรัพย์ รวมกับรายได้นอกภาคการเกษตร รายได้จากการเลี้ยงสัตว์ และรายได้อื่นๆ
๒. ความสามารถในการมีแหล่งรายได้นอกภาคการเกษตรสำหรับการยังชีพพื้นฐาน
ซึ่งคำนวณจากสัดส่วนของค่าใช้จ่ายด้านอาหาร หรือค่าใช้จ่ายประจำต่อมูลค่าการออมทรัพย์ รวมกับรายได้นอกภาคการเกษตร รายได้จากการเลี้ยงสัตว์และรายได้อื่นๆ
ปัจจัยสำคัญ ๔ ประการ ที่ทำให้ชาวบ้านมีความสามารถในการรับมือต่อผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งได้ต่ำ คือ
๑. ความยากจน ทำให้ไม่สามารถมีโอกาสในการเข้าถึงทุนที่จำเป็นในการปรับตัวเหล่านี้
๒. โครงสร้างประชากรที่เป็นวัยเด็กและสูงอายุมาก
๓. ระดับการศึกษา http://statstd.nso.go.th/definition/projectdetail.aspx?periodId=46&defprodefId=557
๔. สุขภาพ
——————————————————555555555————————————————–—-