ภาคอีสาน ประสบกับปัญหาภัยแล้งอยู่เป็นประจำ มีผลกระทบกับฐานทุนของครอบครัวที่สำคัญในการดำเนินชีวิต ๕ ด้าน คือ
๑. ทุนธรรมชาติ ซึ่งประกอบด้วยคุณภาพความอุดมสมบูรณ์ของที่ดิน แหล่งน้ำสำหรับการเกษตร/เลี้ยงสัตว์ การมีแหล่งอาหาร(หญ้า) ให้กับสัตว์เลี้ยง สัตว์เลี้ยงมีสุขภาพไม่แข็งแรง และการมีแหล่งอาหารจากป่า/ธรรมชาติที่เข้าไปใช้ประโยชน์ได้
๒. ทุนกายภาพ ประกอบด้วย เครื่องสูบน้ำสำหรับปั๊มน้ำใช้ในการเกษตร มีคลินิกรักษาโรคอยู่ใกล้ๆ มีบริการส่งเสริมการเกษตรและสัตวแพทย์คอยให้บริการ ถนนและตลาดสำหรับขนส่ง-ขายผลผลิต และฉางสำหรับเก็บผลผลิตธัญพืช
๓. ทุนการเงิน ได้แก่ แหล่งรายได้อื่นๆ การมีรายได้สม่ำเสมอ มีระบบเงินกู้-เงินออมที่สามารถที่เข้าถึงได้
๔. ทุนมนุษย์ หมายถึง ทักษะและความรู้ในการเกษตรและการดำเนินชีวิต รวมถึงการออกแบบบ้านที่เหมาะสม
๕. ทุนสังคม คือ องค์กรชุมชน และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
แม้ในภาคอีสาน จะไม่พบความพยายามที่แย่ที่จะปรับตัวเพื่อรับมือกับภัยแล้งของชาวบ้าน เช่น เมื่อมีภัยแล้ง ผลผลิตลดลง ชาวบ้านกลับใช้วิธีการขยายพื้นที่การผลิตเข้าไปในเขตชายขอบมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงมากขึ้น ก็ไม่ได้ช่วยเพิ่มผลผลิตให้กับชาวบ้าน ทั้งนี้ ไม่ได้มีสาเหตุมาจากความตระหนักของชาวมหาสารคาม แต่เพราะไม่มีพื้นที่ชายขอบให้รุกล้ำอีกแล้ว
——————–///////////////———————-