วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

วิบัติการณ์สังคมเกิดขึ้นมากมาย และแต่ละกรณีก็ส่งผลต่อชีวิตและทรัพย์สินรุนแรงขึ้นทุกๆ ปี พลวัตที่ทำให้สังคมเดินเข้าสู่วิบัติการณ์สังคมที่ทำให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ  ประกอบด้วย

1.การเสียสมดุลเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ

ภายใต้ระบบเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงสลับซับซ้อนและเชื่อมโยงกันมากขึ้น ส่วนใหญ่ประเทศต่างๆ มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจากการผลาญปัจจัยทางการผลิต โดยที่

1.1 ต้นทุนของปัจจัยการผลิตสูงกว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เราได้รับ (ผู้ที่ได้รับจะเป็นผู้ประกอบการ ประชาชนส่วนใหญ่สูญเสียปัจจัยการผลิตส่วนรวมของสังคม และเข้าสู่วงจรภาระหนี้ไม่รู้จบในชีวิต) ภาคธุรกิจยังละเลยการพัฒนาวิธีการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

1.2 ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ของไทยยังอยู่ในระดับสูง รายได้จากผลตอบแทนการใช้แรงงาน/รับจ้าง น้อยกว่าผลตอบแทนจากการลงทุนสูงมาก

2.การสูญเสียอธิปไตยของชุมชนหมู่บ้าน

การรวมศูนย์ผูกขาดอำนาจไว้ที่ส่วนกลางสร้างวิกฤตสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมตามมามหาศาล การรวบอำนาจและลิดรอนอำนาจ จากการเกิดขึ้นของรัฐสมัยใหม่ที่ใช้อำนาจรัฐบาลส่วนกลางกำกับท้องถิ่นผ่านกลไก และระบบราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคตั้งแต่ระดับกระทรวง ทบวง กรม อำเภอ อปท.ลงมาควบคุมกำกับ กระทั่งศักยภาพการปกครองตนเองของชุมชนหมู่บ้านต้องสูญเสีย จากการพึ่งพิงส่วนกลางมากขึ้นเรื่อยๆ ชมชนหมู่บ้นถูกแปรสภาพเป็นเพียงเครื่องมือพร้อมใช้ของหน่วยงานของรัฐ  ชุมชนหมู่บ้านพร้อมใช้เหล่านี้ถูกยัดเยียดแผนงานโครงการนานาประเภท

ชุมชนหมู่บ้านที่พร้อมใช้ มีสถิติที่ตกอยู่ในความเสี่ยงต่อหายนะในชีวิตและทรัพย์สินมากกว่าชุมชนหมู่บ้านที่ไม่พร้อมใช้สำหรับหน่วยงานภาครัฐ (เป่าล้างบ่อบาดาล ขุุดลอกคูคลอง ฟื้นฟูถนน การกำจัดแมลงศัตรูพืช ฯลฯ)

3. การเมืองที่จะขับเคลื่อนแก้ไขวิบัติการณ์สังคมให้ดีขึ้น ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของกลุ่มบุคคลที่ไม่ยึดหลักความเท่าเทียมความยุติธรรมสังคม

ประเทศตกอยู่ภายใต้โครงสร้างและระบบการเมืองที่เป็นเผด็จการโดยพรรคการเมืองของนายทุนผูกขาด การเมืองระบบนี้เป็นระบบรวบอำนาจกอบโกยผลประโยชน์เพื่อตนเอง กลืนกินและทำลายผลประโยชน์ของชาติบ้านเมือง ไม่อาจพัฒนาและส่งเสริมให้ประเทศก้าวหน้า ประชาชนเข้มแข็งมั่งคั่ง และมีความมั่นคงในชีวิตขึ้นมาได้

ระหว่างชนชั้นนำทางเศรษฐกิจจำนวนไม่กี่กลุ่มหรือตระกูลที่ครอบงำระบบเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของประเทศ และชนชั้นล่างจำนวนมหาศาล ที่สิ้นหวังและต้องการความช่วยเหลืออย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพโดยเร่งด่วน

-ชนชั้นนำทางเศรษฐกิจจำนวนน้อยมากที่ได้ประโยชน์และใช้อำนาจแฝงผ่านทางพรรคการเมือง กองทัพ และระบบราชการ

-กองทัพและระบบราชการที่ต้องการมีอำนาจเพื่อประโยชน์ของตัวเอง แม้จะไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยและหลักนิติธรรม

-พรรคการเมืองและนักการเมืองที่ต้องการได้อำนาจผ่านการเลือกตั้ง ซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีการซื้อเสียง มีผลประโยชน์ทับซ้อน มีการทุจริตคอรัปชั่น สี่ ประชาชนที่ต้องการใช้อำนาจของตนผ่านการเลือกตั้ง ประชามติ เสนอร่างกฎหมาย เสนอเรื่องถอดถอนและการมีส่วนร่วมอื่นๆ

4.ความเสื่อมโทรมลงของจริยธรรม คุณธรรมและศีลธรรมในทุกภาคส่วนของสังคมไทย

รัฐบาลและนักการเมืองทุกพรรคขอเน้นย้ำว่าทุกพรรค ทุกฝ่ายที่ได้มีโอกาสบริหารบ้านเมือง ล้วนแต่โกง ทุจริต แสวงหาประโยชน์เพื่อตัวเอง เพื่อพรรคของตนเป็นสำคัญ แข่งกันใช้นโยบายประชานิยม มอมเมาประชาชน ผลาญเงินภาษีและสร้างภาระหนี้แก่ประเทศชาติทิ้งเป็นมรดกบาปให้ประชาชนแบกรับชั่วลูกหลาน

-สื่อมวลชนและนักวิชาการที่ควรจะเสนอความจริงให้ปัญญากับประชาชน ส่วนใหญ่ไม่ยึดมั่นในวิชาชีพของตนเอง ไร้จริยธรรม คุณธรรม ขายตัว ยอมรับใช้และเป็นเครื่องมือให้กับการเมืองแบบเผด็จการทุนผูกขาด เพียงเพื่อแลกกับผลประโยชน์ที่เขาหยิบยื่นให้

-ข้าราชการของรัฐขาดจริยธรรม และคุณธรรมของความเป็นข้าราชการที่ดี ผู้ที่ได้รับตำแหน่งและความรับผิดชอบของส่วนราชการที่สำคัญๆ ส่วนมากได้มาเพราะการวิ่งเต้น ติดสินบน หรือทำตัวเป็นทาสรับใช้อำนาจฝ่ายการเมือง โดยไม่ได้คำนึงถึงความถูกผิด ชอบหรือมิชอบด้วยกฎหมายก็หาได้คำนึงไม่ ยอมตนรับใช้และเป็นทาสของการเมืองมากกว่าจะยึดประโยชน์ของชาติและประชาชน

สถาบันกองทัพอันเป็นเสาหลักและรั้วปกป้องประเทศชาติ ถูกทำให้แตกแยก และอ่อนแอลง โดยการแทรกแซง แทรกซื้อ โดยเผด็จการทุนผูกขาดทางการเมือง ฝ่ายความมั่นคงก็อ่อนแอไร้ประสิทธิภาพไม่อาจรับมือกับสถานการณ์ปัญหาที่คุกคามต่อความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ ทั้งจากภายในและภายนอกราชอาณาจักร กองทัพไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฯ

– ศาลและกระบวนการยุติธรรม, อัยการและตำรวจรวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนดำเนินคดี ถูกครอบงำ แทรกแซง ทำให้อ่อนแอและเป็นที่เสื่อมศรัทธาอย่างเป็นขบวนการจากนักโทษหนีคดีการเมือง กรณีการพิพากษาลงโทษคดีนายสนธิ ลิ้มทองกุล 85 ปี, การสั่งไม่ฟ้องนายจักรภพ เพ็ญแข, การสั่งให้ยุติคดีหลายคดีโดย DSI, การพูดของทักษิณกับผู้พิพากษาขอให้ช่วยคนเสื้อแดง ฯลฯ ล้วนแต่เป็นการสั่นคลอนและทำลายกระบวนการยุติธรรมของชาติ

– องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญทั้งหลาย ไม่มีความเป็นอิสระที่แท้จริง ขาดความกล้าหาญทางจริยธรรม ไม่เข้มแข็งในการปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา จึงไม่เป็นที่ยำเกรงของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และข้าราชการผู้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบทั้งหลาย

– วงการศาสนาของประเทศก็อยู่ในอาการเสื่อมถอย ตกต่ำ ลัทธิความเชื่อและการตีความตามคำสอนทางพระพุทธศาสนาแบบผิดๆ และกำลังสร้างพิธีกรรมที่เป็นการทำลายพุทธศาสทุกวัน ขยายตัวและเหิมเกริมอย่างยิ่ง สำนักธรรมกายได้เป็นเครื่องมือทางการเมืองอย่างน่าวิตกยิ่ง

– ประชาชนพลเมืองของประเทศถูกทำให้แตกแยกและอ่อนแอลง ประกอบกับความคิดที่ผิดและล้าหลัง อันเกิดจากฝ่ายชนชั้นปกครองสร้างขึ้นและมอมเมาประชาชนพลเมืองให้เห็นแก่ตัว อิจฉาริษยา โจมตีใส่ร้ายคนทำความดี ส่งเสริมพฤติกรรมรู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี ชนะไหนเฮนั่นขาดวินัยและความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ

 

5.ระบบการศึกษาที่ถูกวางยาให้ไม่สามารถเข้าถึงแก่นของการศึกษาได้

5.1 teacher (parent) – centered มิใช่ student – centered การที่ผลประโยชน์นั้นเน้นไปที่ครูหรือพ่อแม่ ทั้งที่ควรเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้เรียน

5.2 ครอบงำความคิดของศิษย์ นักเขียนชาวอเมริกันคนหนึ่งบอกว่า วัตถุประสงค์ของการศึกษา คือการทำให้กระจกกลายเป็นหน้าต่าง หมายความว่า ไม่ใช่สอนเด็กให้เหมือนตัวเอง แต่ต้องการให้มีความหลากหลายเป็นหน้าต่างที่เกิดขึ้น “ถ้าคิดแบบแคบ อคติแบบแคบ ครอบงำศิษย์หรือลูกแบบแคบ ผมว่าไม่สอดคล้องกับโลกใบนี้ และคิดว่าเป็นยาพิษอย่างหนึ่ง ราล์ฟ วัลโด เอเมอร์สัน นักเขียนและนักปรัชญาชาวอเมริกัน ที่บอกว่า ‘ความลับของการศึกษา อยู่ที่เรื่องของการเคารพนักเรียน’ ในที่นี้หมายความว่า เคารพในสิทธิของความเป็นศิษย์ เคารพความคิดของเขาและไม่ยัดเยียด”

5.3.จงใจล้างสมอง ยกตัวอย่างประเด็นสุดคลาสสิคในสังคมไทย คือ “ชาตินิยม” ซึ่งเป็นยาพิษที่แรงมากและทำให้เด็กมองโลกผิดกว่าที่ควรจะเป็น “สังคมเราจะมองว่ามีคนไทยอยู่สองประเภท คือ คนไทยแท้และคนไทยไม่แท้ ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด เพราะทุกชาติในโลกนี้ล้วนแล้วแต่เคยเป็นคนอพยพมาแล้วทั้งหมด ชาติไม่ได้ประกอบขึ้นด้วยคนชาติพันธ์ แต่ชาตินั้นประกอบขึ้นด้วยคนที่มีความเชื่ออย่างเดียวกัน มีผลได้ผลเสียเหมือนกันหรือร่วมกัน เรื่อง “ชาตินิยม” คือหนึ่งในยาพิษที่เราใส่ให้สังคมไทย ทั้งที่เราควร “นิยมชาติ” คือ รักคนในชาติที่มีส่วนได้ส่วนเสียด้วยกัน รักหวงแหนเอกราช พรมหมแดน ทรัพยากรและผลประโยชน์ของชาติ ทั้งหมดเป็นเรื่องของการใส่ยาพิษในลักษณะแฝงการศึกษาเข้ามาเเละทำให้คนตายไปหรือ โตได้ไม่เต็มที่นั่นเอง

5.4 การศึกษาจากคนที่เรียกว่า Haif-baked educators / Misinformation เเละ Disinformation กลุ่มคนที่ให้ทั้งข้อความที่ผิด ให้ทั้งข้อความที่จงให้ผิด ซึ่งอยู่ในสังคมไทยมานาน ตั้งแต่เรื่องความเชื่อแบบผิดๆ “รู้งูๆ ปลาๆ เเต่นึกว่ารู้มาก สิ่งที่มันไม่จริงเเล้วนึกว่าจริง เป็นยาพิษที่สำคัญอันตราย โดยเฉพาะสื่อสมัยใหม่ที่ข่าวสารแพร่กระจายจนไม่รู้ว่าอะไรจริงไม่จริง”

5.5.การทำให้เด็กเชื่อเเละหงอย “การว่านอนสอนง่าย นับเป็นยาพิษ เพราะเชื่องมากเกินไป คิดเองไม่ได้หรือไม่เป็น ซึ่งเราคงไม่ต้องการคนเเบบนี้ เราต้องการคนที่ยืนด้วยขาตัวเองในขอบเขตหนึ่ง ส่วนเรื่องหงอยนั่นเกิดขึ้นเพราะเรียนมากเกินไป โดยที่หลักสูตรไม่ได้ทำให้เด็กอยากรู้อยากเห็น นอกจากนั้นแล้ว ความงมงายอย่างขาดระบบการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ ก็นับเป็นยาพิษด้วย เพราะถ้าไม่คิดเชิงวิทยาศาสตร์ก็เท่ากับคิดไม่เป็น สร้างปัญหาตามมามากมาย ซึ่งคนคิดไม่เป็นนั้นยิ่งกว่าโดนพิษปรอทเข้าไปเสียอีก เรียกว่า เก่งจดจำมากกว่าการคิดวิเคราะห์ โง่ต่อไปด้วยความสามารถในการคิดที่อ่อนแอ” อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ชี้ว่า ทุกคนเกิดมาไม่ได้คิดเป็น แต่มีทักษะในการคิด ถ้าคิดบ่อยๆ สร้างวิธีการที่ต้องคิดหรือถูกบังคับให้ต้องคิด การคิดก็จะเข้มแข็ง แต่หากถูกครอบงำด้วยการท่องงำหรือความเชื่องมงายโอกาสในการคิดก็เกิดขึ้นไม่ได้

5.6.การศึกษาที่ขาดคุณภาพ ระยะเวลา 12 ปีของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่ได้สร้างคุณภาพให้เด็กอย่างที่ ประเทศต้องการ และถึงแม้ไทยจะลงทุนกับการศึกษาปีล่าสุดถึง 4.8 แสนล้านบาท สูงสุดใน งบประมาณทั้งหมด แต่กลับผลิดคนที่ไม่ได้คุณภาพ ทำให้เสียเวลาเเละเกิดต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) ที่สูง สำคัญกว่านั้นคือ ประสิทธิภาพของระบบราชการ ซึ่งภาครัฐสูญเสียทรัพยากรอย่างไร้ ประโยชน์ โดยเม็ดเงินเกือบ 5 แสนล้านที่กระทรวงศึกษาธิการได้รับ 75 เปอร์เซนต์ เป็นเงินเดือนของครูและบุคคลากร เห็นได้ชัดว่าเหลือถึงตัวเด็กและโรงเรียนน้อยมาก เป็นเรื่องที่ ภาครัฐจำเป็นต้องพัฒนาและยกระดับเพื่อให้ทุกคนเชื่อถือในประสิทธิภาพ

5.7.พ่อเเม่รังเเกฉัน แม้พ่อแม่จะมีความตั้งใจดี แต่การเลี้ยงดูแบบไข่ในหินนับเป็นยาพิษ และทำให้ลูกอ่อนแอ ไม่มีความคิดเป็นของตัวเอง “พ่อแม่เลี้ยงดูเหมือนไข่ในหิน คงคิดว่าลูกคงจะตายก่อนพ่อแม่ เพราะสามารถดูแลได้ตลอด แต่ความเป็นจริงก็คือพ่อแม่ตายก่อนลูก คำถามคือแล้วลูกจะอยู่อย่างไร เมื่อไม่มีคุณ” โดยลักษณะอันหนึ่งที่พ่อแม่รังแก ก็คือ เรื่องวินัย “พ่อแม่บางคนกลัวลูกลำบาก ไม่สร้างวินัยเป็นต้นทุนชีวิตให้ลูก ซึ่งจะส่งผลให้สบายตอนต้นแต่จะลำบากไปทั้งชีวิต ผิดกับพ่อแม่ที่ให้วินัยกับลูก ตอนต้นจะลำบากแต่จะสบายไปตลอดชีวิต เพราะทุกอย่างที่ทำให้คนประสบความสำเร็จคือวินัย”

5.8.หลักสูตรแอบแฝงซ่อนเร้น (Hidden curriculum) จากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรงเรียนในระบบทุนนิยมของอเมริกา โดยนักเศรษฐศาสตร์ 2 คน สิ่งที่พบก็คือ เด็กถูกสอนให้เชื่อใน Work ethics คือ ขยันขันแข็งทำงานหนักทุ่มเท่สิ่งต่างๆ เพื่อที่จะให้เป็นแรงงานที่มีคุณค่า จนมองข้าม ความคิดริเริ่ม (Creativity) และอิสระ (Independent thought) Creativity เพราะต้องการคนเพื่อส่งเสริมให้โรงงานอุตสาหกรรมนั้นมีคนทำงานต่อไป

———————-999————————————