การศึกษาปัญหาภัยพิบัติของไทย ยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาจากเรื่องเล่าของผู้ที่มีประสบการณ์ประสบภัยพิบัติในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะสร้างความจริงที่หลากหลายปรากฏออกมา ให้เป็นที่รับรู้และให้กรอบสำหรับทำความเข้าใจบรรทัดฐานซึ่งอยู่เบื้องหลังการให้การบอกเล่านั้น
ทั้งนี้ ผลจากการศึกษาจากเรื่องเล่าจะเป็นการอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติด้วยกฏเกณฑ์หรือทฤษฎีของนักวิชาการที่สรุปผลออกมา เป็นคำอธิบายเชิงสาเหตุ อธิบายเกี่ยวกับพฤติกรรมและการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ในสังคมได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
รวมทั้ง เป็นการแสวงหาความรู้ที่มีการตรวจสอบกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างรอบคอบด้วยวิธีการที่เชื่อถือได้ เพื่อจะสามารถจัดการและใช้ประโยชน์จากธรรมชาติได้ตามต้องการ
การเรียนรู้จากเรื่องเล่าเป็นการศึกษาอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า พฤติกรรมของมนุษย์และปรากฏการณ์ทางสังคมเป็นความจริงที่ดำรงอยู่อย่างกระจ่างชัดมาอย่างยาวนาน เพราะสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้นจะอุดมไปด้วยทัศนคติ ความรู้ ประสบการณ์ ความเชื่อ วิถีปฏิบัติ และระบบความสัมพันธ์ (ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติและระหว่างมนุษย์กับมนุษย์) ที่มีลักษณะเฉพาะ ดำเนินและสั่งสมอยู่ในพื้นที่เฉพาะแห่ง สืบเนื่องมายาวนาน โดยที่จารีตต่างๆอาจอธิบาย ควบคุม และจัดการความไม่แน่นอนได้ในระดับหนึ่ง
อย่าไปให้รูปแบบการจัดการภัยพิบัติจากญี่ปุ่น จากยุโรปจูงจมูกมากนัก หรือมีความสุขมากกับเหลือบงบประมาณที่ผลาญพร่าไปอย่างไร้ประสิทธิผล
—————////////////////—————