วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การสร้างความเป็นอื่นด้านภัยพิบัติให้แก่พื้นที่ประสบอุทกภัยหรือน้ำ้ท่วม  ประชาชนคนไทยได้ถูกเอารัดเอาเปรียบด้วยการเอาเงินภาษีมาเลี้ยงข้าวเที่ยงและเสียเวลานั่งฟังความหมายคำนิยามต่างๆของอุทกภัย พร้อมกับการโฆษราชวนเชื่อถึงภารกิจโครงสร้างการทำงานด้านอุทกภัยของหน่วยงานของตน มีการยืดเส้นยืดสายหลังจากนั่งฟังครึ่งวันโดยเก็บข้าวเก็บของขึ้นรถขึ้นรถพ่วงมอเตอร์ไซต์รอบหมู่บ้านชุมชน  (เรียกขานซะโก้หรูว่า CBDRM)ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว มีความจำเป็นจริงๆ แค่สองพันกว่าหมู่บ้านชุมชน

แต่ด้วยความชอบง่ายๆ  สบายๆๆ ด้วยเงินภาษี จึงอาจจะสูญเสียเม็ดเงินที่จำเป็นต้องใช้ในงานอื่นๆ ที่สำคัญกว่า  ไปอีกเป็นหมื่นๆ หมู่บ้าน  (เขาทำเรื่อยเปื่อยแบบไร้..งเบา… ไร้สำนึก แต่ละปี จังหวัดหนึ่ง 5 หมู่บ้านชุมชน)  หมู่บ้านชุมชนที่ไม่มีความจำเป็นสำหรับการดำเนินงานดังกล่าว เรียกว่าได้ถูกสร้างความเป็นอื่นให้กับหมู่บ้านชุมชน ทั้งที่ในด้านอุทกภัย ที่ควรจะดำเนินการเพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอาจจะเป็นการบำรุงรักษาหน้าดินเพื่อป้องกันการไหลบ่าอย่างรวดเร็ว ด้วยการเพาะปลูกพืชอย่างยั่งยืน  การปรับปรุงวิศวกรรมภูมิทัศน์  การรักษาป่าไม้  แม่น้ำลำคลอง

และที่สำคัญคือระบบการตรวจแจ้งความเสี่ยงแก่ชุมชนที่มีควkมเสี่ยง  อย่างเช่น ในปี 2562 เดือนสิงหาคม ในพื้นที่อำเภอหนองสองห้อง อ.เปือยน้อย อ.พล และ อ.โนนศิลามีฝนตกหนัก  ในพื้นที่ไม่มีน้ำ้ท่วมแต่มวลน้ำกลับรวมตัวกันไหลเช้าท่วมอำเภอบ้านใผ่ เป็น้ำท่วมในรอบ 100 ปี ที่ไม่เคยเกิดขึ้น

แม้แต่ภาคสื่อมวลชนก็มีการสร้างความเป็นอื่นให้เกิดขึ้นกับเหตุการณ์อุทกภัย โดยที่มักจะให้ความสนใจเสนอข่างในพื้นที่ได้รับผลกระทบ  ความน่าเวทนาของผู้ประสบภัย  โดยไม่ได้ให้ความสนใจในลักษณะการเกิด  เหตุการณ์เกิดขึ้นในลักษณะใด ซึ่งก็น่าเห็นใจสื่อมวลชนที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเขาก็ไม่อยากให้ขุดคุ้ยมากนัก

—————////////////////——————