วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ความเท่าเทียมคือทางรอดปลอดภัยพิบัติ  ทั้งนี้เพราะในปัจจุบันสภาพสังคมด้านภัยพิบัติกำลังเดินไปในรูปความไม่เท่าเทียม ที่ทำให้การมีชีวิตอยู่อย่างไม่เป็นระบบไม่เป็นระเบียบ อันถือว่าเป็นความไม่เท่าเทียมซึ่งปรากฏให้เห็นได้ทั้งระบบการศึกษา ความมั่นคงปลอดภัย รายได้ การสนับสนุนทางสังคม ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความมีเสรีภาพ การดำเนินไปของระบบดังกล่าวส่งผลให้สังคมมีความเปราะบางต่อความเท่าเทียม ดังจะเห็นได้จากลักษณะเฉพาะทางภัยพิบัติที่สังคมเปราะบางได้ดำเนินอยู่ ได้แก่

1.ภาครัฐมุ่งกอบโกยสมรรถนะจนล้นเหลือ จนอยู่ในสภาวะกาฝากสังคม ใช้ภาษีไม่สมเหตุสมผล  การแพทย์สาธารณสุขมองเห็นทางสว่างมานานพอสมควรแล้วว่า การทำให้ไม่เป็นโรคสำคัญมากกว่าการมีความสามารถในการรักษาโรค แต่ก็ยังไม่สามารถฝ่าฟันตัวถ่วงที่หลากหลายให้บรรลุสุ่ทางสว่างได้

แต่มโนทัศน์การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้วางแนวเจาะอุโมงค์แบบไม่มีวันจะทะลุออกที่ไหน เพื่อจะเอาประชาชนเข้าไปคุ้มครองช่วยเหลือในอุโมงค์  ไม่สนใจพื้นที่ถิ่นอาศัยของประชาชนจะพังพินาศอย่างไร  สิ้นสุดลักษณะหายนะค่อยออกไปฟื้นฟู

2.สร้างการกดขี่ ด้วยลักการปลุกฝังความคิดแห่งการพึ่งพาแบบไร้การมีส่วนร่วม กักขังให้มีชุดความคิดที่คับแคบ (ออกไปโฆษณาชวนเชื่อด้วยโครงการการจัดการภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐานแต่ผลผลิตที่ต้องการผลิตคือภาวะพึ่งพา)

——————-xxx———————