วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากสาธารณภัย แต่กลไกในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในปัจจุบันยังกีดกันการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน  โดยเฉพาะภาคเอกชนและภาคประชาชน ทั้งนี้ การบริหารจัดการสาธารณภัยของไทย ยังคงใช้อำนาจนิยมละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังนี้

1.ประชาชนยังขาดโอกาสขาดช่องทางเข้าถึงบริหารจัดการภัยพิบัติ การฟื้นฟูเยียวยา และการเตรียมพร้อมป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 ยังกีดกันโอกาสให้ทุกระดับมีส่วนร่วม

2.คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (กปภ.ช.) ขาดการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะ 2 ส่วน คือ ผู้แทนชุมชนที่มีประสบการณ์ด้านการจัดการภัยพิบัติ ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนที่มีบทบาทในการส่งเสริมชุมชนในการจัดการภัยพิบัติ  และเพิ่มอำนาจหน้าที่ ให้เป็นกรรมการที่มีอำนาจสั่งการ บริหารจัดการในขณะเกิดภัยพิบัติ

3.กำจัดสิทธิในการจัดการตนเอง จึงต้องให้มีคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับจังหวัด ระดับตำบล เป็นผู้พิจารณาประกาศภัยพิบัติ พิจารณาจัดทำแผนการจัดการภัยพิบัติ พิจารณาให้การช่วยเหลือและฟื้นฟูภัยพิบัติ โดยมีสัดส่วนจากผู้แทนชุมชน ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชน ที่มีประสบการณ์ด้านการจัดการภัยพิบัติ และจัดทำแผนเพื่อการป้องกันและเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นชุมชนเป็นหลักกระจายอำนาจให้ระดับท้องถิ่น

4. ความรับผิดของรัฐเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติของไทยยังต่ำกว่ามาตรฐานสากล  ความไม่เสมอภาคในการแบกรับภาระสาธารณะของประชาชนด้วยกันเอง ซึ่งในปัจจุบันมีการผลักดันให้เป็นนโยบายสาธารณะ แต่รัฐบาลเผด็จการ สว.ลากตั้ง ประยุทธ์ จันทร์โอชา  กลับแถอวดฉลาดจะออกนโยบาย ให้เช่าที่นาเก็บน้ำ ซึ่งดึงดันจะทำจริง ก็ต้องเป็นนโยบายที่ขัดกับระเบียบกฎหมายอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

—————555—————