วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

วิธีผลิตความปลอดภัยพิบัติในสังคมไทย

สังคมไทยภายใต้อิทธิพลของสังคมอีลิท (กลไกทางการเมืองการปกครองอยู่เหนือประชาชน แทนที่จะอยู่ในมือประชาชน อีกทั้งดินแดนที่เป็นพื้นที่สาธารณะก็เข้าไปเจือกควบคมกลัวอะไรก็ไม่รู้ มีข้อขัดแย้งก็ระงับโดยใช้ระบบกฎหมาย สนับสนุนด้วยความสามารถที่ใช้กำลังเป็นหลัก) ได้มีการขับเคลื่อนการผลิดความปลอดภัยพิบัติ ดังนี้

๑. ผลิตแบบแยกส่วน

ในปัจจุบันประเทศไทยผลิตความปลอดภัยพิบัติแบบแยกเป็นส่วนๆ ตามภารกิจหน่วยงาน ส่วนกลางจะกำหนดตายตัว ส่วนท้องถิ่นเปิดกว้างให้มีลักษณะแผนงานโครงการที่ไม่เฉพาะการแก้ไขเร่งด่วนเฉพาะหน้า ขึ้นกับศักยภาพด้านงบประมาณ

จะแบ่งแยกตามโครงสร้างหน้าที่รับผิดชอบของหน่วยงาน และตามแผนการป้องกันและบรรเทาสารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๘ หน่วยงานองค์กรเสนอโครงการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ งบประมาณก็จะได้รับตามที่หน่วยงานที่ควบคุมภาพรวมทั้งประเทศ แบบกระจัดกระจาย (ประเมินกันว่าตำน้ำพริกละลายแม่น้ำไปถึงครึ่งต่อครึ่ง)

แนวทางการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพจะต้องปรับระบบงบประมาณ การเสนอจะต้องผ่านคณะกรรมการเตรียมพร้อมแห่งชาติหรือคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติพิจารณาจัดลำดับความสำคัญ จัดแผนงานโครงการ กำหนดเป้าหมายที่จะบรรลุ ด้านท่องเที่ยวก็ผ่านคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ด้านทรัพยากรน้ำผ่าน สทนช. ด้านอื่นๆ ก็เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การสาธารณสุข มาที่สำนักงบประมาณ

ทำให้เข้าเกณฑ์ว่าต่างคนต่างทำ จนยากที่จะบรรลุเป้าหมายที่ให้ประสิทธิผลสูงสุด

๒.ผลิตแบบองค์รวม

ในอนาคต เมื่องบประมาณมีหน่วยงานที่จะรับผิดชอบเป้าประสิทธิผลสูงสุดตามความจำเป็นเร่งด่วนของประเทศ ไม่ใช่ของหน่วยงานแล้ว หลักการพิจารณา จะครอบคลุม ทั้ ๔ ส่วน ดังนี้

๒.๑ ภูมิรัฐศาสตร์

๒.๒ ภูมิสังคม/วัฒนธรรม/ประวัติศาสตร์

๒.๓ ภูมิปัญญา/เทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์

๒.๔ ภูมินิเวศ

 

—————————–ขขขขขขขขขขขขขขขขข———————