สมรรถนะใการป้องกันอัคคีภัยใช้เป็นกรอบในการสร้างวัฒนธรรมหน่วยงาน ถ้าหากหน่วยงานใดไม่ได้ออกแบบวัฒนธรรมโดยรวมของหน่วยงานไว้ อยู่ไปนานๆบุคลากรในหน่วยงานจะสร้างวัฒนธรรมหน่วยงานขึ้นมาเองโดยธรรมชาติ ซึ่งวัฒนธรรม ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาตินี้ อาจจะมีบางอย่างสนับสนุนหรือเอื้อต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน แต่วัฒนธรรมบางอย่างอาจจะมีปัญหา เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของหน่วยงาน
สมรรถนะไม่ใช่ความรู้ ทักษะ/ความสามารถและคุณลักษณะอื่นๆของบุคคล แต่เป็น กลุ่มพฤติกรรมในการทำงาน ซึ่งเกิดจากการที่บุคคลมีความรู้ ทักษะ/ความสามารถและคุณลักษณะอื่นๆที่จำเป็น สำหรับการทำงานให้ประสบความสำเร็จหรือมีผลงานโดดเด่น
งานดับเพลิงหรืองานอื่นๆในการพัฒนา เราก็เชื่อว่าหากเราปรับปรุงคนที่ต้นทางให้มีคุณลักษณะที่ดีหรือเหมาะสมแล้ว พฤติกรรมของคนๆนั้น ก็จะเปลี่ยนไปในทางที่เหมาะสมที่จะทำงานในตำแหน่งงานที่รับผิดชอบให้ประสบความสำเร็จได้ในที่สุด ในขณะ เดียวกันคุณลักษณะที่ไม่เหมาะสม เช่น ทัศนคติที่เป็นลบอยู่ตลอดเวลา ขาดความรู้หรือทักษะในงานที่รับผิดชอบ ขาดความกระตือรือร้น ฯลฯ จะต้องมีการปรับเปลี่ยนโดยการพัฒนาไม่ว่าจะด้วยการฝึกอบรมหรือการพัฒนาแบบอื่นๆ เพื่อแก้ไขคุณลักษณะที่ไม่ดีเหล่านี้ให้ดีขึ้น
เราสามารถสังเกตุเห็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงได้ และพฤติกรรมใดจำเป็น สมรรถนะแต่ละด้านจะประกอบด้วยพฤติกรรม หรือคุณลักษณะหลายประการ โดยจะมีพฤติกรรมที่สามารถสังเกตุเห็นได้หลายๆพฤติกรรม เรียกว่าเป็นตัวบ่งชี้พฤติกรรม ซึ่งถ้าหากระบุตัวบ่งชี้พฤติกรรมไว้มากเกินไปในสมรรถนะหนึ่ง ก็จะมีความยุ่งยากและสับสน ในการปฏิบัติให้มีสมรรถนะสูงต้องพิจารณาถึงพฤติกรรมที่จำเป็นและสามารถนำมาใช้ได้กับทุกๆบทบาท มีความเรียบง่ายและสะดวกในการปฏิบัติ โดยทั่วกันทั้งหน่วยงาน
ทั้งนี้ การกำหนดกรอบสมรรถนะ ควรคำนึงถึงคุณสมบัติต่างๆ ได้แก่ มีความชัดเจนและเข้าใจง่าย คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และมีตัวระบุพฤติกรรมที่ไม่ทับซ้อนกัน
สมรรถนะน่าจะนำไปใช้ใน 2 รูปแบบ คือเป็นความสามารถของบุคคลที่จะปฏิบัติงานให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดและเป็นกลุ่มของพฤติกรรมของบุคคลที่ถูกนำเอามาใช้ในการทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับด้วยความสามารถ เป็นมิติของพฤติกรรมที่นำไปสู่ผลงานที่ดี ซึ่งจะหมายถึงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดความสามารถและการนำสมรรถนะไปใช้
ในการจัดการภัยด้านอัคคีภัย สมรรถนะต้องเป็นสมรรถนะในมิติที่เป็นกลุ่มพฤติกรรมของบุคคลหรือหน่วยงาน ที่ทำให้เกิดความสามารถที่จะจัดการกับอัคคีภัยที่อาจจะเกิดขึ้นในชุมชนและศึกษาสมรรถนะในมิติที่ใช้เป็นกรอบในการสร้างวัฒนธรรมหน่วยงาน
อ้างอิงจาก http://www.samsenfire.com/component/content/article/32-subportfire/72-studyfireman.html