วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การดับเพลิงภายใต้ความเหลื่อมล้ำนั้น มีประเด็นให้พิจารณาได้เป็นจำนวนมาก แต่ประเด็นที่พอจะพอมองเห็นร่องรอยของความเหลื่อมล้ำได้ ก็เช่นกรณีเหตุไฟไหม้โรงงานผลิตเม็ดโฟมพลาสติกของบริษัท “หมิงตี้ เคมีคอล” ซอยกิ่งแก้ว 21 อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2564https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8% ซึ่งพอให้เห็นความเหลื่อมล้ำของการดับเพลิงไหม้ในครั้งนี้ ดังนี้

1. กำลังเครื่องมือเครื่องใช้ในการผจญเพลิงครั้งนี้

1.1 ส่วนรวมของหน่วย  จากการที่ต้องใช้เวลาระงับเหตุ ถึง 26 ชั่วโมง ก็ประเมินได้ว่าประสิทธิภาพของเครื่องมือที่มียังไม่สูง ต้องมีการปรับปรุง จัดหาเพิ่มเติมให้สามารถระงับเหตุได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

1.2 อุปกรณ์ประจำตัว เพียงพอเพราะอาสาสมัครเขามั่นใจเข้าผจญเพลิงก็น่าจะมีอุปกรณ์ครบมือ และอุปกรณ์ดับเพลิงภาคพื้นดินทั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ กับกรุงเทพมหานครก็มีเพียงพอสนับสนุน  แต่ด้วยเหตุเชื้อเพลิงพ่นออกมาเกิดการลุกไหม้อยู่ในถังเก็บใต้ดินจึงต้องใช้ระยะเวลาระงับเป็นเวลานาน

2. เจ้าหน้าที่ ยังมีประสบการณ์น้อย มีชั่วโมงการอบรม และขาดกระบวนการควบคุมการทำงานให้มีขั้นทดลองงาน  ขั้นสนับสนุน ขั้นปฏิบัติการ

เหตุการณ์นี้ได้เห็นความพิกลพิการที่กำลังเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้ง ไม่อยากจะเห็นอาสาสมัครกู้ภัยจะต้องมาเสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่คนแล้ว คนเล่า  ความพิกลพิการที่กล่าวมาจากความเหลื่อมล้ำด้านการดับเพลิง ประเด็นการจัดสรรทรัพยากรในการกู้ภัยหรือในการดับเพลิง ดังรายละเอียด ดังนี้

ประเด็นการพิจารณาแรก หน่วยงานหนึ่งกระโดดเข้ามาร่วมปฏิบัติการ โดยมีทรัพยากรที่มีต้นทุนสูงยิ่ง อย่างละเลยการประเมินศักยภาพ การโปรยน้ำดับเพลิงในเมืองสามารถระงับเพลิงไหม้ได้น้อยมาก ไม่เหมือนดับไฟป่าที่นำ้ดับเพลิงยังอยู่ในจุดกระจายเป็นพื้นที่กว้างๆ  แต่ในเมืองนำ้ดับเพลิงจากการโปรยจะถูกปิดกั้นไม่ถูกกับเชื้อเพลิงบางส่วน และไหลออกจากพื้นที่เกิดเพลิงได้รวดเร็ว  แต่เขาก็มาเพราะได้ผลลัพธ์อย่างอื่นที่คุ้มค่ากว่าคือ จำนวนเฮลิคอปเตอร์ที่จะได้เพิ่มเข้ามาสมทบในฝูงบินเพิ่มขึ้น

ประเด็นการพิจารณาที่สอง เหล่าอาสาสมัครกู้ภัยทั้งหลายที่กระจายครอบคลุมทุกพื้นที่ก็ยังจะขาดการสนับสนุนการฝึกอบรมต่อไป แม้จะมีเพิ่มขึ้นอีกหลายศพในวันข้างหน้า ทั้งที่ผลลัพธ์ที่ได้จากพวกเขามันคุ้มค่าตอประเทศชาติอย่างเหลือคณา แต่ก็ไม่มีใจที่จะสนับสนุน ยังคงต้องขึ้นกับศักยภาพของ อปท. และมูลนิธิที่พวกเขาสังกัด  เขียนกฎหมายออกมาให้เจ้าหน้าที่กู้ภัยตาม อปท.ตามมูลนิธิจะต้องเข้ามาอบรมให้ผ่านหลักสูตรนั้นหลักสูตรนี้ แต่ต้องจ่าย คชจ.คนละหลายหมื่น


————xxxxxxxx————–