ปัญหาอุทกภัยกับแนวทางที่ไร้พลัง และถึงแม้จะมีเสียงจากความไม่เป็นธรรมจากการแก้ไขปัญหาอุทกภัยจะถูกพูดถึงและถูกทวงถามจากประชาชนที่ได้รับความเดือนร้อนจากน้ำท่วมจะยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นบทเรียนราคาแพงที่รัฐบาลต้องมองปัญหานี้ให้ทะลุปรุโปร่ง ในหลายมิติมากขึ้น ไม่ใช่ต่างคนต่างคิดทำงานกันไปคนละเรื่อง นานวันก็ยิ่งบานปลาย เช่น บอกว่าจะแก้ปัญหาน้ำท่วมกทม. แต่กลับไม่เคยพูดถึงบ้านเรือนประชาชนที่อยู่ด้านบน ที่แช่น้ำนานเป็นเดือนๆ ชาวบบ้านถูกน้ำท่วมก็ว่าเลวร้ายแล้ว แต่ยังมีความขัดแย้ง ความคับแค้นใจมาซ้ำเติมปัญหาให้แย่ไปอีก”
กระบวนการกำหนดนโยบายกำหนดแผนยุทธศาสตร์ มาจนถึงการดำเนินการมีส่วนร่วมในพื้นที่ อีกทั้ง ลักษณะของปัญหาก็รุนแรงกว้างขวางส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นจำนวนมาก จนเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งของสังคมไทย ที่ต้องมาทะเลาะกัน เพราะความไม่เป็นธรรมในการแก้ปัญหาของรัฐบาล
การแก้ไขปัญหาในระยะยาวที่ยั่งยืนไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างคันกั้นน้ำ การก่อสร้างทางระบายน้ำก็มีปัญหาทั้งเชิงสังคมการเมือง การบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐและงบประมาณจำนวนมหาศาลที่จำเป็นจะต้องใช้
ประเทศไทย จึงยังคงดำเนินการแก้ไขปัญหาในระยะสั้น 2 แนวทาง คือ
1.ปรับปรุงและตกแต่งสภาพลำน้ำ เพื่อให้น้ำที่ท่วมทะลักสามารถไหลไปตามลำน้ำได้สะดวกหรือช่วยให้กระแสน้ำไหล เร็วยิ่งขึ้น อันเป็นการบรรเทาความเสียหายจากน้ำท่วมขังได้ โดยใช้วิธีการดังนี้
-
-
- ขุดลอกลำน้ำตื้นเขินให้น้ำไหลสะดวกขึ้น
- ตกแต่งดินตามลาดตลิ่งให้เรียบมิให้เป็นอุปสรรคต่อทางเดินของน้ำ
- กำจัดวัชพืช ผักตบชวา และรื้อทำลายสิ่งกีดขวางทางน้ำไหลให้ออกไปจนหมดสิ้น
- หากลำน้ำคดโค้งมาก ให้หาแนวทางขุดคลองใหม่เป็นลำน้ำสายตรงให้น้ำไหลสะดวก
-
2. ขับเคลื่อนการส่งเสริมให้ประชาชนขุดบ่อกักเก็บน้ำขนาดเล็กในพื้นที่ของตนเอง การสนับสนุนให้ภาคธุรกิจเอกชนมีการกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในกิจการของตนเอง
ดังนั้น ก็คาดว่าปัญหาความไม่เป็นธรรมในการแก้ไขปัญหาอุทกภัย คนจนซี่งเป็นคนส่วนใหญ่ที่จะต้องได้รับผลกระทบจากการแก้ไขปัญหา ไม่ตำ่กว่า 30 ปีข้างหน้า
เครดิตภาพ : Big motor sale 2019 : ไบเทคบางนา
————————8888————————