วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ทำไมเรายังเสี่ยงต่อภัยพิบัติอยู่ ทั้งที่เราใช้เงินภาษีในแต่ละปี 6 พัน – 7 พันล้านบาทต่อปีในการดำเนินงานภารกิจเเฉพาะซะด้วย  จากการศึกษาภารกิจของภาครัฐที่ดำเนินการลดความเสี่ยงภัยพิบัติตามความคิดเห็นของนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา จำนวน 400 คน พบว่า การดำเนินงานที่ต้องการให้ภาครัฐให้ความสำคัญมากขึ้น 4 ลำดับแรกได้แก่

1. การผสมผสานภารกิจ

โดยส่วนใหญ่มองว่าต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างกำหนดกิจกรรมแผนงานโครงการในพื้นที่เดียวกันทั้งพื้นที่กายภาพและพื้นที่ทางสังคมที่ขาดการเชื่อมโยง

2. การบังคับใช้กฎหมายที่เที่ยงธรรม

ส่วนใหญ่มองว่าการบังคับใช้กฎหมายอย่างเหลื่อมล้ำ ทำให้เกิดการทำลายคุณภาพน้ำ คุณภาพอากาศ  ทำลายป่าไม้ แม่น้ำลำธาร ทรัพยากรธรรมชาตินานาชนิดอย่างมหาศาล ไม่ทันต่อการฟื้นตัวเองของธรรมชาติ

3. ขาดการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง

ส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นเพียงการอบรม การประชุมเชิงปฏิบัติการเป็นส่วนใหญ่

4. ขาดการทำงานเชิงรุก

ส่วนใหญ่เห็นว่าไม่ยอมลุกจากวัฒนธรรมการทำงานที่ห่วยแตก รูปแบบการดำเนินงานที่ไร้ประสิทธิภาพ (ตามความคิดเห็นผู้เขียนเห็นว่า ทำอยู่ก็เจริญก้าวหน้าอย่างดี ถ้าขืนเปลี่ยนไปก็เหลวเป็นขี้ หรือไม่รู้จะเปลี่ยนไปยังไงดี)

ตารางแสดงผลการศึกษาความแตกต่างสภาพที่ต้องการกับสภาพที่เป็นอยู่จริง

ค่าเฉลี่ยสภาพที่ต้องการเห็น

ค่าเฉลี่ยสภาพที่เป็นอยู่จริง

ความแตกต่าง

การระงับสถานการณ์ฉุกเฉิน

8.8

7.2

1.6

การใช้ชุมชนเป็นฐาน

5.3

7.6

-2.3

ความต่อเนื่องยั่งยืนของภารกิจ

6.5

3.6

2.9

การผสมผสานในภารกิจ

9.5

3.3

6.2

การทำงานเชิงรุก

8.9

6.2

2.7

มีแนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม

9.6

7.5

2.1

การบังคับใช้กฎหมายที่เที่ยงธรรม

8.6

5.3

3.3

ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อถือได้ของมาตรวัด = 0.54

—————–////////////——————