ปริมณฑลความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้ องกันและบรรเทาสาธารณภัยในปัจจุบัน ยังขาดการศึกษาทำความเข้าใจอย่างจริงจังเพียงพอ และอาจเรียกได้ว่าถูกทอดทิ้งมานานแล้ว ด้วยเหตุอันเนื่องมาจากการขาดความเข้าใจเชิงระบบทั้งในหมู่นักวิชาการ และในหมู่เจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้อง
ทำให้กระทบต่อไปยังภาคปฏิบัติ คือขาดการพัฒนาความเข้าใจในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอย่างเป็นระบบระเบียบ เป็นลำดับขั้นและเป็นธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขาดระเบียบแบบแผน ขาดการวางแผน ขาดความชัดเจนในการตัดสินใจออกคำสั่ง และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ทั้งในแง่การประเมินความเสี่ยง การระบุภัยที่แม่นยำ การเตือนภัยและป้องกันบรรเทาสาธารณภัยอย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดการเฉพาะเรื่องเฉพาะราว โดยไม่สามารถพัฒนาไปสู่การจัดระบบและวางแบบแผนในเชิงหลักการการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อเผชิญภัยพิบัติ
หากไม่มีความชัดเจนในแง่ข้อความคิดทางกฎหมายที่ใช้ถ้อยคำแตกต่างกัน ก็ย่อมเกิดปัญหาทางปฏิบัติต่อไปว่า จะปรับใช้กฎหมายให้ต้องด้วยกรณีเหล่านี้อย่างไร ภายในขอบเขตใด เพราะเมื่อเกิดเหตุภยันตรายขึ้น
และที่ทำให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องยังคงสามารถนิ่งนอนใจ ทำงานธุรการหรือทำงานที่ไม่สร้างผลผลิตอันใดที่เป็นการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยเลย ก็เพราะหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติราชการยังเข้าไม่ถึง ขาดกฎหมายที่เกี่ยวกับการละเมิดละเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่ส่วนรวม
ทั้งนี้ ลักษณะดังกล่าวข้างต้น เกิดเพราะความพิกลพิการของสังคมที่ปล่อยปละละเลยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตีความกฎหมายโดยมีหลักตรรกวิทยาและสามัญสำนึกเพื่อนำไปสู่ผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง https://www.senate.go.th/assets/portals/93/fileups/272/files/S%E0%B9%88ub_Jun/4seminar/s37%20jun_7_6.pdf
————————————–xxxxxxxxx——————————————