ในระยะ 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีช่วงที่ประสบปัญหาภัยแล้งมากกว่าปัญหาอุทกภัย ในอัตราส่วน 2 ใน 3 แต่งบประมาณที่หน่วยงานที่เกียวข้องใช้แก้ปัญหาภัยแล้ง กลับน้อยกว่างบประมาณแก้ปัญหาอุทกภัย ในอัตราส่วน 3 ใน 10
อันถือได้ว่าเป็นความกำกวมคลุมเครือของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งจากการศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุความกำกวมคลุมเครือดังกล่าว พบว่า
ตารางแสดงอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของตัวแปรต่างๆ ที่มีต่อความกำกวมคลุมเครือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ตัวแปร |
ความสัมพันธ์รวม |
ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ |
ไม่ใช่เชิงสาเหตุ |
||
ทางตรง |
ทางอ้อม |
รวม |
|||
ฐานส่งกำลังบำรุงขององค์กร |
.462 |
.467 |
– |
.467 |
.046 |
กระแสสังคม |
.165 |
.196 |
.021 |
.217 |
.018 |
ความต้องการจำเป็นในการแก้ไขปัญหา |
.378 |
.258 |
.089 |
.347 |
.031 |
ผลการศึกษาวิจัยบ่งชี้สนับสนุน |
.036 |
.206 |
.098 |
.304 |
.024 |
จากตาราง พบว่าความกำกวมคลุมเครือของหน่วยงานภาครัฐ ที่เป็นสาเหตุอิทธิพลทางรวมมากที่สุด คือ ฐานการส่งกำลังบำรุงองค์กร รองลงมาคือ ความต้องการจำเป็นในการแก้ไขปัญหา ผลการศึกษาวิจัยบ่งชี้สนับสนุน และกระแสสังคม ตามลำดับ ส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความกำกวมคลุมเครือของหน่วยงานภาครัฐมากที่สุด คือ การศึกษาวิจัยบ่งชี้สนับสนุน ความต้องการจำเป็นในการแก้ไขปัญหา และกระแสสังคม ตามลำดับ
ข้อสังเกต
ความต้องการจำเป็นในการแก้ไขปัญหา เป็นเพียงข้ออ้างข้อสนับสนุนในการตัดสินใจดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยจัดทำผลการศึกษาวิจัยสนับสนุนให้มีความสมเหตุสมผล ทั้งนี้เพื่อความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรเป็นพื้นฐาน ยิ่งนานวันก็ยิ่งเพิ่มงบประมาณ ขยายงานขยายกำลังเจ้าหน้าที่ แต่อนาคตที่แม้จะเป็นจินตนาการแต่ไม่มีสวยงาม แต่เป็นความหายนะที่รุนแรง
ตามรัฐธรรมนูญที่เขียนเอาไว้โดยทุกภาคส่วนละเลย แม้แต่คนเขียนเอง (Junta ประยุทธ์) ซึ่งจะต้องมีการดำเนินการใช้จ่ายงบประมาณจากความต้องการจำเป็น และมีผลการศึกษาวิจัยสนับสนุน (ทั้งความจำเป็น/ผลกระทบ/ความคุุ้มค่า) เป็นลำดับต้นๆ
————————————55555555555————————–