รอยเท้าน้ำ เป็นการขยายแนวคิดจากแนวคิดเดิมที่คิดจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (สะท้อนแสงอาทิตย์ให้อยู่ในบรรยากาศของโลกแทนที่จะกลับไปสู่อวกาศ) มีการกระตุ้นโดยสนับสนุนให้มีการแสดงข้อมูลในผลิตภัณฑ์ เพื่อสื่อสารไปยังผู้ซื้อหรือผู้บริโภค
รอยเท้าน้ำ เป็นมาตรฐานการใช้น้ำในการผลิต ทั้งการผลิตด้านการเกษตรและการผลิตด้านอุตสาหกรรม รวมทั้งการบริการต่างๆ
การคำนวณรอยเท้าน้ำ คำนวณปริมาณน้ำจากผลรวมของทุกขั้นตอนตลอดห่วงโซ่การผลิตสินค้าและบริการ มีหน่วยเป็นลูกบาศก์เมตรต่อปี หรือลูกบาศก์เมตรต่อคนต่อปี และค่าที่ได้จากการคำนวณยังแสดงทั้งปริมาณน้ำที่ใช้และปริมาณน้ำเสียที่ปล่อยออกมา
รอยเท้าน้ำ(water footprint) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. รอยเท้าน้ำสีฟ้า(Blue water Footprint)
หมายถึง ปริมาณน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติทั้งแหล่งน้ำผิวดิน เช่น น้ำในแม่น้ำ ทะเลสาบ รวมทั้ง น้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ และแหล่งน้ำใต้ดิน ได้แก่ นำ้บาดาล ที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
2. รอยเท้าน้ำสีเขียว(Green water Footprint)
หมายถึง ปริมาณน้ำที่อยู่ในรูปความชื้นในดินที่ถูกใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิต พืชผลทางการเกษตร การทำไม้ และทุ่งหญ้า เลี้ยงสัตว์
3. รอยเท้าน้ำสีเทา (Gray water footprint)
หมายถึง ปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งคำนวณจากปริมาณน้ำที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีตามค่ามาตรฐาน
ในพืชนั้น รอยเท้าน้ำ คำนวณจากปริมาณน้ำที่พืชใช้ ปริมาณผลผลิตของพืชนั้น
ในสัตว์ รอยเท้าน้ำคิดจากปริมาณน้ำ ทั้งหมดในการผลิตและให้อาหารสัตว์ น้ำดื่มของสัตว์ และน้ำที่ใช้ในกิจการเลี้ยงสัตว์อื่นๆ เช่น น้ำที่ใช้เพื่อทำความสะอาดคอกสัตว์ น้ำที่ใช้ในการระบายความร้อน เป็นต้น
สำหรับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้งจากพืชและสัตว์ เป็นผลรวมของรอยเท้าน้ำจากการผลิตผลิตภัณฑ์จากพืชและสัตว์ ตั้งแต่เริ่มกระบวนการจนกระทั่งสิ้นสุดได้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์นั้นๆ
จากการศึกษา ประเทศไทยมีรอยเท้าน้ำโดยเฉลี่ย 2,223 ลูกบาศก์เมตร/คน/ปี
ตัวอย่างผลการคำนวณรอยเท้าน้ำของผลิตภัณฑ์
1. กาแฟ 1 แก้ว ใช้น้ำในการผลิต 140 ลิตร
2. ไวน์ 1 แก้ว ใช้น้ำในการผลิต 2,396 ลิตร
3.รถยนต์ 1 คัน ใช้น้ำในการผลิต 147,760 ลิตร
4.ไข่ 2 ฟอง ใช้น้ำในการผลิต 272 ลิตร
5.กางเกงยีนส์ 1 ตัว ใช้น้ำในการผลิต 6,800 ลิตร
6.ขวดพลาสติกขนาดทั่วไป ใช้นำ้ในการผลิต 5.6 ลิตร
7. เนื้อสัตว์ 1 ปอนด์ ใช้น้ำในการผลิต 5,670 ลิตร
เมื่ออุณหภูมิของโลกสูงขึ้น ทำให้วัฏจักรของน้ำเปลี่ยนแปลงเร็ว ทำให้กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ได้รับผลกระทบมากขึ้น ไม่สมดุลในการผลิต
จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนพันธุ์พืชหรือกระบวนการผลิตหรือคุณสมบัติของวัตถุดิบ
ในอนาคต เราอาจจะต้องเผชิญกับภาวะความแห้งแล้ง เมื่อดูจากรอยเท้าน้ำแล้ว เมื่อสภาวะการณ์ความแห้งแล้งมาถึงเราไม่อาจใช้ชีวิตที่เราเป็นอยู่อย่างทุกวันนี้ได้เลย พวกกาแฟ ไวน์ รถยนต์ ฯลฯ คนที่ไม่มีกำลังทรัพย์มากเพียงพอจะไม่มีโอกาสได้สัมผัสอีกเลย
—————999999999999999—————–