วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

บนท้องถนนมีระบบรัฐที่ทำงานเป็นห่วงโซ่ที่ร้อยรัดอยู่ 4 ห่วงโซ่ เพื่อให้ทุกคนเดินทางด้วยความปลอดภัย ประกอบด้วย

1. ห่วงโซ่ที่ 1 คือ รัฐธรรมนูญ โดยหลักตามรัฐธรรมนูญ ทุกคนมีเสรีภาพที่จะเดินทางบนท้องถนน

2. ห่วงโซ่ที่ 2 คือ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522

ทั้งนี้ เพื่อให้การใช้เสรีภาพบนท้องถนนมีความปลอดภัยไม่มีอุบัติเหตุทางถนน รัฐได้มีตรากฎหมาย พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ขึ้น มาควบคุมเสรีภาพบางอย่าง (มาตราต่างๆ ใน พ.ร.บ.ฯ 2522) เพื่อความสงบเรียบร้อยและสวัดสดิภาพของผู้ใช้รถใช้ถนน

3. ห่วงโซ่ที่ 3 คือ คำสั่งทางปกครอง

นอกจาก พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ยังให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการออก “กฎ” ต่อไปเรื่อยๆ เช่น ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด (เจ้าพนักงานจราจรจังหวัด) ออกกฎต่างๆ ในการใช้รถใช้ถนน เช่น ถนนสายไหนเป็นถนนเดินรถทางเดียว  ช่วงไหนใช้ความเร็วความเท่าไหร่ เป็นต้น

4. ห่วงโซ่ที่ 4 คือ การบังคับใช้กฎหมาย และกฎของเจ้าพนักงานจราจร เจ้าพนักงานขนส่ง และเจ้าพนักงานท้องถิ่น

ห่วงโซ่ทั้ง 4 มาจากการที่ส่งอำนาจของตัวเราแต่ละคนเพื่อให้เกิดห่วงโซ่ทั้ง 4  ดังนั้น เราต้องรักษาความศักดิ์สิทธื์ของอำนาจตนเอง  เจ้าหน้าที่ที่บังคับใช้กฎหมายหรือแม้เจ้าหน้าที่ที่ออกกฎ อยู่ภายใต้หลักแห่งอำนาจของเราที่ว่า “ไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้จะทำไม่ได้” ส่วนตัวเรานั้นอยู่ภายใต้หลัก “ไม่มีกฎหมายห้ามย่อมทำได้”

ปัญหาที่พบจากเจ้าหน้าที่รัฐบนท้องถนน ที่เป็นปัญหาอมตะยากที่จะแก้ไข และเป็นที่มาของอุบัติเหตุทางถนนความเสียหายทางสังคมเศรษฐกิจนับหมื่นๆ ล้านบาท คือ

1. ละเลยการทำหน้าที่ หรือเลือกปฏิบัติ  ทั้งนี้เพราะมาจากการที่มีทัศนคติที่ผิดๆ ลืมตีนตนเอง ที่คุณมีอำนาจอยู่ทุกวันนี้ มาจากฉันทามติของประชาชนมอบอำนาจให้มีอำนาจหน้าที่ที่จะทำตามที่กฎหมายระบุไว้ให้ทำ และต้องทำเพื่อความสงบเรียบร้อยบนท้องถนน ลืมไปว่าตนเองมีอำนาจและมีเกียรติเพราะประชาชนอุปฏลกน์ผ่านระบบและกลไกรัฐ

2.ตีความกฎหมายเพื่อผลประโยชน์  ศาลยังตีความเพื่อผลประโยชน์ก็ยังมีให้เห็นในสังคม (พิจารณาจากหลัก “ไม่มีกฎหมายห้ามย่อมทำได้”)

ปัญหาที่พบจากประชาชนที่ใช้รถใช้ถนน คือ

ไม่เคารพอำนาจของตนเอง ที่มีอยู่ใน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 และกฎจราจรของเจ้าพนักงานของรัฐ เมื่อเราเหยียบย่ำอำนาจของตนเอง เราอาจจะต้องถูกบิดเบือนอำนาจของเราไปหาประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง รวมทั้งสร้างความเดือดร้อนแก่ตนเองและเพื่อร่วมทาง

สถานการณ์ท้องถนนในวันนี้  ขาดซึ่งห่วงโซ่ที่ร้อยรัดกันทำให้เกิดความปลอดภัยบนท้องถนน  หนทางฟื้นห่วงโซ่เราจะยกให้เป็นหน้าที่ของภาครัฐเพียงอย่างเดียว  หวังไม่ได้แน่นอนเพราะยุค ผนง.ครองอำนาจ มีอค่แปดหมื่นสี่พันเซล  ลูกน้องก็ต้องน้อยกว่านั้นมาก  กว่าจัะหลุดพ้นจาก ผนง.ของพรรคราชการได้ก็ต้องใช้เวลานับสิบปี รอให่เกษียณไปกินบำนาญเดือนละเกินครึ่งแสน  ความหวังที่พอมีต้องเริ่มจากผู้ใช้รถใช้ถนนที่จะต้องมองเห็นความล่อแหลมความเสี่ยงที่อฝงเร้นอยู่จากการเสพอรรถรสที่ชื่นชอบที่ตอบสนองความต้องการได้ดีนั้น

———————////////////////////—————————-