วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การดำเนินการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินอันเป็นจะทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและสินทรัพย์สาธารณประโยชน์ต่างๆ  โดยปกติจะมุ่งเน้นการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์และการรักษาพยาบาลและการป้องกันการระบาดลุกลามเป็นหลัก  ซึ่งต้องอาศัยกลไกที่มีประสิทธิภาพและเป็นเอกภาพ  และต้องมีค่านิยมร่วมอันจะทำให้เการปฏิบัติไม่ไขว่เขวจากเป้าหมาย ไม่เกิดการทุจริตคอรัปชั้น หรือเกิดการขัดแย้งต่อสู้เอาชนะด้วยกำลัง หลักค่านิยมร่วมในเผชิญสาธารณภัย ประกอบด้วย

1.หลักความยุติธรรม

1.1 ยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม

กระบวนการทางสังคมได้เข้าไปบังคับฝืนระบบกลไกปกติของสิ่งแวดล้อมเพื่อประโยชน์มุ่งหมายอันหนึ่ง  แต่ประโยชน์มุ่งหมายนั้นอาจไม่เกิดประโยชน์อันใดกับกลุ่มคนในมณฑลของผลกระทบหรือองคาพยพในระบบนิเวศนั้น ซึ่งถือว่าสร้างความอยุติธรรมขึ้นหากยังคงไม่สมประโยชน์มุ่งหมายเดียวกัน

1.2 ยุติธรรมทางอำนาจหน้าที่ในความสัมพันธ์ ทั้งระหว่างบุคคล และระหว่างรัฐกับบุคคล

การบัญญัติขึ้นซึ่งระเบียบข้อบังคับข้อปฏิบัติใดอาจจะสร้างผลกระทบในทางลบขึ้น จำเป็นต้องมีการยืดหยุ่น ต้องมีมาตรการรองรับเพื่อให้เป้ามุ่งหมายได้ดำเนินไปอย่างราบรื่นจนเกิดผลสัมฤทธิ์

2. หลักการระงับบรรเทา

สังคมเห็นความสำคัญและมีฉันทามติที่จะร่วมกันตั้งแต่การเตรียมความพร้อม มาตรการในการเผชิญเหตุ และการบูรณะฟื้นฟู

3. หลักคุณค่า

ความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล และระหว่างรัฐกับบุคคลจะเกิดขึ้นได้อย่างราบรื่น  จำเป็นจะต้องมีการส่งต่อคุณค่าระหว่างกัน ไม่ใช่การเอารัดเอาเปรียบ การแย่งชิงทุจริตคอรัปชั่น

4. หลักความยั่งยืน

สังคมไม่ควรมองเฉพาะความสะดวกระงับสาธารณภัยในเบื้องต้นเท่านั้น บางครั้งต้องยอมฝืนขัดใจเพื่อความยังยืนเจริญรุ่งเรืองของเผ่าพันธ์ุตนเอง

5. หลักความเป็นมืออาชีพ

สังคมต้องให้ความสำคัญต่อความเป็นมืออาชีพด้านสาธารณภัย เพื่อจะได้สร้างแรงจูงใจให้หลักข้อ 1-4 พัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ

———-/////////////——————