วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ชุมชนท้องถิ่น จะสามารถสู้กับทุกรูปแบบของภัยพิบัติได้ จะต้องปฏิรูปแนวทางการพัฒนาใหม่โดยแนวทางการพัฒนาใหม่ คือ

1. พื้นที่เป็นตัวตั้ง โดยบูรณาการองค์ประกอบของวิถีชีวิตร่วมกันทั้งหมดรวมทั้งสิ่งแวดล้อมเข้ามาด้วยกัน

องค์ประกอบของการพัฒนาอย่างบูรณาการในพื้นที่มี ๘ เรื่องด้วยกัน คือ

1.1. การมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่

1.2. การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

1.3 ความปลอดภัย

1.4 สังคมแข็งแรง

1.5 ศิลปวัฒนธรรม

1.6 ศาสนธรรม

1.7 สุขภาพ

1.8 กระบวนการเรียนรู้ของชุมชน

2. ประชาชน/ชุมชน/องค์กรชุมชน มีบทบาทสำคัญ

3. ชุมชน (ขบวนองค์กรชุมชน) – ท้องถิ่น (อปท.) – ท้องที่ (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน) ร่วมมือกัน

4. หน่วยงาน/องค์กรภายนอก (จากภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม มหาวิทยาลัย สถาบันศาสนา ฯลฯ) เป็นฝ่ายสนับสนุน

ที่ผ่านมาเราไม่ถึงรูปแบบที่เรียกว่าการปฏิรูป  เพราะ

4.1 ประชาชนฐานราก ไม่ มีบทบาทสำคัญและ ไม่ เป็นแกนหลักในการปฏิรูป

4.2 ทุกภาคส่วน รวมถึง  ประชาชน ภาคประชาสังคม  ภาควิชาการ ภาคธุรกิจ  ภาครัฐ ไม่ ร่วมมือรวมพลังสร้างสรรค์

ร่วมคิด  ร่วมทำ  ร่วมติดตามประเมินผล  ร่วมเรียนรู้และปรับปรุงพัฒนาหรืออภิวัฒน์ อย่างต่อเนื่อง

4.3 ไม่มี “เสาหลัก” หรือหลักการสำคัญ หรือเป้าหมายสำคัญ 3  ประการ  ในการปฏิรูป ได้แก่

(1) ความดี  (คุณธรรม)

(2) ความสามารถ

(3) ความสุข  (สุขภาวะ) ที่ดีพอ  มากพอ  และได้สมดุลกัน

4.4 ไม่มีการใช้  ข้อมูล  ความรู้ วิจารณญาณ  ปัญญา  ที่ดีพอ ในการดำเนินการ และหรือเสนอแนะ  การปฏิรูป

4.5 ไม่มีการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ  ที่ดีพอ  เพื่อให้เกิดการรับรู้  ความเข้าใจ  แรงจูงใจ  แรงบรรดาลใจ  ฯลฯ
ในหมู่ประชาชนและสังคมโดยรวม  จนสามารถนำประชาชน  เข้ามามีบทบาทในการปฏิรูป  อย่างสมัครใจและเต็มใจ

4.6 ไม่มีการรวมตัว  ร่วมคิด  ร่วมทำ ในพื้นที่ต่างๆ  ตามประเด็นต่างๆ อย่างเป็นขบวนการ และเป็นเครือข่ายเพื่อการปฏิรูป ที่ดำเนินงานอย่างจริงจัง มุ่งมั่น พากเพียร  อดทน  เสียสละ  ฯลฯ อย่างต่อเนื่อง

4.7 ไม่มีการจัดการที่มีคุณภาพ มีศิลปะ  มีประสิทธิภาพ  ที่ดีพอ ในทุกพื้นที่  ทุกองค์กร  ทุกเรื่อง และทุกระดับ  รวมถึงระดับชาติ

4.8.ไม่  มีการสนับสนุนร่วมมือเชิงนโยบายและงบประมาณ  รวมถึงการมีนโยบาย  แผนงาน  โครงการ  กฎหมาย  กฎกระทรวง  ข้อบังคับ  ระเบียบ  ข้อบัญญัติ (ท้องถิ่น)  ฯลฯ  ที่เหมาะสม  โดยสถาบันหรือองค์กรในภาครัฐ  รวมถึง สถาบันนิติบัญญัติ  สถาบันตุลาการ  ฝ่ายบริหาร/รัฐบาล/คณะรัฐมนตรี  กระทรวง/กรม/กอง  หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ  (องค์กรอิสระฯ  องค์การมหาชน  ฯลฯ)  และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกรูปแบบ

 

ปปปปปปปปปปปปปปป